ผลสัมฤทธิ์จากการอบรม “ปฏิบัติ เขียนภาวนา” รอบที่ 2/2564

 

ผลสัมฤทธิ์จากการอบรม “ปฏิบัติ เขียนภาวนา” รอบที่ 2/2564

เดือนธันวาคม – มกราคม 2565 รวม 5 สัปดาห์

https://punnspace.com/p/practice-meditationwriting

 

ผู้สำเร็จการอบรม 12 ท่าน ได้บอกเล่าว่า มีการเปลี่ยนแปลงตนเอง ดังนี้

 

  • สำรวมระวังกาย วาจา และใจตนเองมากขึ้น
  • ปล่อยวางจากการยึดติด
  • ปฏิบัติฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่องจนจบการอบรม
  • รู้สึกว่าใจได้พักเพราะการทำสมาธิอย่างต่อเนื่อง
  • ควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีมากขึ้น
  • มีสติมากกว่าเดิม เท่าทันความคิดและความรู้สึก
  • จดจ่ออยู่กับงานตรงหน้ามากขึ้น
  • ฝึกปฏิบัติด้วยการใช้หลักอานาปนสติตามดูลมหายใจได้
  • เข้าใจหลักธรรมและศัพท์บาลีมากขึ้น
  • ตามดูตามเห็นกิเลส และกุศลต่างๆ เช่น อัตตา ความอยาก ความยึดติด ฯ ได้ชัดขึ้นและบ่อยขึ้นด้วยการยอมรับ ไม่ต่อต้าน
  • มีเครื่องมือเสริมในการฝึกเจริญสติด้วยการเขียนเพิ่มเติมจากการฝึกปฏิบัติในรูปแบบ
  • เมื่อเจอสถานการณ์ไม่คาดคิด มีสติ ไม่ตระหนกทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี จากการมีสติ ตลอดการเรียนรู้ 10 วันที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ซึมซับเข้ามาในตัวเองได้อย่างอัศจรรย์
  • นิ่งมากขึ้น รับมือกับความคิดกังวลไปล่วงหน้า ได้ดีขึ้น วางความคิด ความกังวล และอยู่กับ ปัจจุบันได้
  • พลิกใจให้มองเห็นสองด้าน มองเห็นผล ที่อาจเกิดขึ้น ชั่งใจ มากขึ้น ซึ่งเดิมเป็นคนตัดสินใจเร็ว
  • อดทน รอคอยเป็น ไม่เร่งรีบ รีบร้อน ไม่ทำตามใจตัวเองเหมือนแต่ก่อน
  • เห็นอัตตา และกิเลสละเอียดของตัวเอง
  • เห็นกิเลสที่ผุดออกมา อันเกิดจากอาสวะที่หมักหมม
  • ลายมือเขียนเปลี่ยนไปในทางที่ดี อ่านง่าย ไม่ยุ่งเหยิง
  • สติละเอียดและจับอารมณ์ไวขึ้น
  • มีความพยายามและวางใจตนเอง
  • มีฉันทะในการนั่งสมาธิ และนั่งได้นานมากขึ้นกว่าเดิม
  • เกิดโยนิโสมนสิการในเรื่องต่างๆ และระวังในวิปัสนูปกิเลสมากขึ้น
  • มีความเพียรในการถือศีล มรรค และโพชฌงค์
  • เข้าใจตัวเอง ได้ทบทวนตนทำให้กระจ่างบางเรื่องมากขึ้น
  • จัดการเวลาได้ดีขึ้น ทำให้วุ่นวายน้อยลง ใจนิ่งขึ้น
  • การเขียนจากที่ตอนแรกตึง กดดัน ต้องบังคับ น้อยลง
  • อยู่กับปัจจุบันมากขึ้น และช้าลง
  • นอนหลับง่ายขึ้น จากเดิมที่นอนหลับแล้วมีความคิดวนเวียนก็ได้ใช้การฝึกลมหายใจ จดจ่อกับสิ่งเดียวทำให้หลับง่าย
  • เห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องธรรมดา
  • คิดน้อยลงในการปฏิบัติ กล้าตัดสินใจลงมือทำ
  • สติชัดเจน กำหนดจุดปักใจ ชัด
  • โฟกัสมากขึ้นและฟุ้งซ่านน้อยลง
  • เข้าใจคำว่า น้อยแต่มาก
  • เห็นความโลภ เพราะกลัวหรือกังวลกับอนาคตมากเกินไป
  • หายใจยาวขึ้น และระลึกรู้ตามละเอียดกว่าเดิม
  • กล้าเอาชนะความขี้เกียจของตนเอง
  • เห็นว่าตนเองปฏิบัติมาถึงไหน และจะสังเกตตนเองอย่างไร แก้ไขอย่างไร จากการใช้แบบฟอร์มทบทวน
  • ได้เรียนรู้ว่ากิเลสมีลักษณะอย่างไร แบ่งออกเป็นอย่างไรบ้าง
  • ได้ใคร่ครวญชีวิตตนเองที่ผ่านมา เห็นความหมายของการปล่อยวาง และสมดุลทางกายใจ
  • ละลายพฤติกรรม คลายยึดติดจากตัวกู ตัวตนของกู
  • รู้สึกมีพลังสดใหม่ในการเริ่มต้น และผ่อนคลาย
  • อ่อนน้อมถ่อมตน

 

และได้บอกเล่าว่าเกิดการเรียนรู้หรือได้ข้อคิด ดังนี้

  • ความอยากนำมาซึ่งความทุกข์
  • ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่มีตัวตน สรรพสิ่งล้วนไม่มีตัวตน
  • เราทำกรรมอะไรไว้ย่อมได้รับสิ่งนั้น
  • การยึดติดสิ่งใดล้วนเป็นความหลงไปทั้งสิ้น
  • ทำอะไรช้าลงช่วยให้ทันผัสสะ ทันผัสสะจบทุกอย่าง
  • ทุกอย่าง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไตรลักษณ์
  • ลมหายใจมีคุณค่า
  • การใช้ชีวิตอย่างมีสติ และมีความปราณีตมาก ช่วยฝึกให้ตนเองให้ตามดูตามรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต เพื่อให้รู้ ยอมรับ และละสิ่งเหล่านั้น
  • การปฏิบัติควรฝึกฝนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สติมีกำลังในการฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวันต่อไป
  • การใช้ชีวิตอย่างมีสติ ด้วยความไม่ประมาท บนทางสายมรรค8 คือทางสายเอกที่สุด
  • ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ เมื่อเราใช้ใจ บวกปัญญา ไม่มีสิ่งใดที่เราทำไม่ได้
  • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อธรรมที่ชัดเจนและนำไปใช้ง่าย
  • เห็นปัญหาและใจที่แตกต่างจากการฟังเพื่อนๆ ในกลุ่ม
  • ชีวิตคนไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีอะไรที่เป็นของๆ เรา แม้แต่ร่างกาย ถึงวันหนึ่งก็ต้องลา
  • ธรรมะนำมาใช้ได้กับทุกเวลา และทุกสถานการณ์ของชีวิต
  • ถ้าทำด้วยความพอดี ความเครียดไม่เกิด
  • ไม่มีสิ่งใดยากต่อการเรียนรู้ อยู่จะเรียน พัฒนา หรือลงมือทำไหม
  • ศรัทธา นำมาสู่ความสำเร็จ
  • เมื่อมีสิ่งใดขัดใจ ให้หยุดก่อนจะทำ คิด หรือพูด… ตรงได้จากการฝึกขัดใจตัวเองในการเขียนภาวนา
  • ทำสิ่งใดก็ตาม อย่าจับปลาสองมือ เพราะทำให้จิตใจวุ่นวาย
  • จงมีสัจจะ ศีล และมรรคแปดในการดำรงชีวิต
  • สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ทำให้ดีอย่าปล่อยให้โอกาสผ่านไป
  • เห็นตัวอย่างที่ดีของการเสียสละ ความมุ่งมั่นความตั้งใจ เพื่อผู้อื่น
  • อย่าทำตามใจตัวเองจนเคยชิน ติดอยาก โลภ ละโมบ ไปเรื่อย พึงดูอาการของมัน ปรามบ้าง ปราบบ้าง
  • คิดให้ทันใจ อยู่กับความรู้สึกของตัวเองวันละน้อยเป็นสิ่งที่ต้องทำ
  • ความเร็วของจิต ไม่ได้มีมาแต่กำเนิด แต่เพราะจิตถูกฝึกให้เข้มแข็งด้านความเร็วจนสติตามไม่ทัน จนลืมลมหายใจ ต้องฝึกจิตใหม่
  • ควรใช้ชีวิตโดยมีธรรมะเป็นทางออกในทุกๆ วัน
  • ควรหยุดคิดล่วงหน้าเยอะจนไม่ทำอะไรเลย หรือเครียด ให้เปลี่ยนเป็นโฟกัส คิดแล้วทำ กล้าตัดสินใจ
  • ความว่าง และ การปล่อยวาง เป็นคุณต่อชีวิต
  • การภาวนาสามารถทำในรูปแบบใดก็ได้ หากมีหลักถูกต้อง
  • มองสิ่งต่างๆ ด้วยใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปกับการรับรู้ ไม่เพิ่มไม่พอก ละจดจำ เห็นเป็นเพียงการตีความ
  • อย่าหยุดเก็บสุข มองให้เห็นเป็นอารมณ์แล้วดึงกลับมา
  • ถ้า ”อยาก” ให้หยุด ทบทวนเพื่ออุดช่องโหว่ความเคยตัว
  • อย่าเผลอ อย่าหลง อย่าติดตน
  • ที่จริงตัวกูมีตั้งต้นแต่ต้น พัวพันไม่พ้น นึกว่าสติล้น แต่กลับจน มีน้อยนิด เพราะมัวคิด ติดตัวเอง จนตุงตัว
  • การติดกับอะไรๆ ทำให้เราไม่มีอิสระจริงๆ ทุกอย่างที่ทำไปล้วนคาดหวังไม่จบสิ้น มาจากการมีอัตตาทั้งสิ้น