ส่งหนังสือดอกไม้และความหวังให้กับลูกผู้ต้องขัง

  เราใช้หนังสือ ดอกไม้และความหวัง เป็นเครื่องมือสร้างแรงบันดาลใจในการอบรมเขียนบำบัดโค้งสุดท้ายในโครงการ “พัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการเขียนบำบัด กลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงในเรือนจำสมุทรปราการ” เราได้ถามพวกเขาหลังจากสรุปบทเรียนในการอ่านและฝึกเขียนแต่งเรื่องราวของตัวเองว่า พวกเขาต้องการส่งต่อหนังสือเล่มนี้ให้กับคนที่บ้าน บริจาคให้กับสามเณรในโครงการค่ายของสถาบันยุวโพธิชน หรือแค่คืนทีมงานไว้งานต่อ เนื่องจากตามกฎเรือนจำแล้วพวกเขาไม่สามารถนำออกไปยามพ้นโทษ พวกเขาส่วนหนึ่งเลือกบริจาคเพื่อการศึกษาแก่เณรน้อย และส่วนหนึ่งขอฝากส่งให้ลูกและคนที่บ้านได้อ่านหนังสือเล่มนี้ พร้อมกับเขียนข้อความให้กับคนที่เขาต้องการส่งไปให้ นั่นจึงเป็นที่มาของข้อความจากหัวใจของผู้เป็นแม่ที่ฝากส่งให้ลูกที่อยู่ที่บ้าน ไม่ว่าพวกเขาจะเป็นแม่ที่ดีตามมาตรฐานของสังคมหรือสายตาของลูกหรือไม่อย่างไร ลูกกรงและกำแพงของเรือนจำก็ไม่อาจขวางความปรารถนาดีและความคิดถึงที่แม่มีต่อลูกได้ การที่เราเลือกส่งต่อหนังสือเล่มนี้มิว่าให้กับน้องเณรหรือครอบครัวที่รอเขาอยู่ ไม่เพียงสะท้อนคุณค่าของหนังสือ ดอกไม้และความหวัง ที่เขาประทับใจ แต่ยังสามารถสะท้อนหัวใจที่ต้องการให้สิ่งดีๆ แก่ผู้อื่นด้วยเช่นกัน ติดตามกิจกรรมรับสมัครบุคคลทั่วไปของเราได้ที่ https://www.dhammaliterary.org/open-course/  

สิ่งที่ผู้ต้องขังได้รับในกิจกรรมเขียนบำบัด ในวันที่ 4 และ 5 ประจำปี 2566

  …รู้สึกดีใจที่ได้ระบายลงสมุดเวลาเราเครียดมันจะทําให้เรารู้สึกดีค่ะ …รู้สึกดีที่เราได้ระบายในเรื่องที่เราไม่ได้อยากให้คนอื่นรู้เรื่องของเราเราสามารถเขียนระบายลงในกระดาษ ได้ โดยที่เขาไม่รู้สึกอะไร ฟังได้หมด ถ้าเป็นคนอาจฟังแล้วรับไม่ได้ …ถ้าเราเขียนในข้อดีๆเราก็จะมีแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนหรือทําสิ่งที่ดีต่อไปนํามาเป็นแรงบันดาลใจได้ 📒 นี่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ผู้เรียนของเราได้รับจากการเขียนบำบัดใน “โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการเขียนบําบัด กลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงในเรือนจําสมุทรปราการ” ในวันที่ 4 และ 5 จากทั้งหมด 12 วัน (เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2566) กิจกรรมในสองวันนี้เป็นการทบทวนชีวิตจากความทบทวนและเส้นทางที่ผ่านมา ใคร่ครวญความรู้สึกและความต้องการของตนเองในเหตุการณ์เหล่านั้นเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อตนเอง ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ต้องคดีจากเรื่องยาเสพติด เกือบทุกคนมีโรคเรื้อรัง เป็นคนชายขอบที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้ที่ดี แม้แต่กิจกรรมในเรือนจำบางครั้งก็ไม่สามารถเข้าร่วมได้เพราะถูกจัดเป็นกลุ่มเปราะบางเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพ มีพื้นเพที่ต้องพบเจอกับปัญหาความยากจน ความร้าวฉานในครอบครัว และความทุกข์ยากตั้งแต่วัยเด็ก เป้าหมายของเราคือการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา โดยเริ่มจากความเข้มแข็งทางใจ แล้วบ่มเพาะกำลังของสติปัญญา เพื่อการเติบโตและการเลือกเส้นทางชีวิตในวันหน้าอย่างมีภูมิต้านทานต่อโลกที่หลายครั้งๆ ก็โหดร้ายกับเราเหลือเกิน …ชีวิตเหมือนกับสายน้ําต้องผจญกับทุกข์ปัญหาแต่เราก็ต้องสู้ต่อไปชีวิตจะสอนให้เรารู้ว่าต่อไปนี้เราต้อง ปรึกษาครอบครัวเราให้มากที่สุด อย่าใช้ชีวิตลําพัง …วันนี้รู้สึกมีความรู้สึกดีๆให้กับเพื่อนที่เราไม่ได้สนิทกัน พอได้จับคู่กันได้เล่าความรู้สึกของกันเราอาจจะ มองไม่ถึงจุดนี้ของเขา ทําให้เรามีความรักความเมตตาให้กับเขามากขึ้น …ได้รู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวของแต่ละคนไม่ได้มาจากที่สูงหรือต่ำเกินไป เราสามารถเป็นเพื่อนกันได้ มีความสุขในแบบหนึ่งได้ • เหมือนได้ย้อนอดีตและความทรงจําเก่าๆดีๆ ได้มิตรภาพจากเพื่อนทุกคน มีที่มามีเหตุการณ์ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน รู้สึกทําให้เราดีขึ้น 🙏 ติดตามกิจกรรมเปิดรับคนทั่วไปของเราได้ที่ https://www.dhammaliterary.org/open-course/ และเพจเฟสบุ๊ค สถาบันธรรมวรรณศิลป์… Continue reading สิ่งที่ผู้ต้องขังได้รับในกิจกรรมเขียนบำบัด ในวันที่ 4 และ 5 ประจำปี 2566

การเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอชไอวี

การเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอชไอวี สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ร่วมกับ กลุ่มเพื่อนรัก โรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ได้ศึกษาและรายงานผลการศึกษา การเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอชไอวี ใน โครงการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (Routine to Research) จังหวัดสมุทรปราการ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๘ ณ อิมพีเรียล สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ เอกสารรายงานโครงการ *ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่เว้นได้รับอนุญาตจากผู้เกี่ยวข้อง ดาวโหลดเอกสาร โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการเขียนบำบัด กลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงในเรือนจำสมุทรปราการ เปิดหน้าเว็บไซต์ มองตนเองอย่างหม่นหมอง และ สภาพปัญหาที่พบ ผู้ติดเชื้อรู้สึกด้อยคุณค่า และ น่ารังเกียจ ผู้ติดเชื้อขาดแรงจูงใจรักษาตนเอง และไม่เรียนรู้พัฒนาตนเองจากปัญหา ผู้ติดเชื้อรู้สึกขาดความมั่นใจในการอยู่ร่วมกับสังคมและมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ ผู้ติดเชื้อขาดเจตจำนงเชิงบวกต่อการใช้ชีวิต ผู้ติดเชื้อไม่สามารถดูแลความรู้สึกเชิงลบในจิตใจ ผู้ติดเชื้อมีมุมมองเชิงลบต่อร่างกายตนเอง ผู้ติดเชื้อรู้สึกขาดอิสระ ขาดแรงบันดาลใจ และความฝัน กิจกรรมที่ดำเนินการ ระยะเวลา 6 เดือน มากราคม – มิถุนายน 2558   1. รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้แก่ผู้ต้องขังหญิง (เรือนจำสมุทรปราการ… Continue reading การเขียนบำบัดร่วมกับกระบวนการจิตปัญญาศึกษา เพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อเอชไอวี

กระบวนการบันทึกร่วมกับการออกกำลังกายต่อเนื่อง ๒๑ วัน

ผลการศึกษาทดลองของศูนย์การเขียนเปลี่ยนชีวิต โครงการธรรมวรรณศิลป์ www.youngawakening.org/write4life , facebook.com/write4life กระบวนการบันทึกร่วมกับการออกกำลังกายต่อเนื่อง ๒๑ วัน (มกราคม ๒๕๕๘)   การทดลองใช้การวิ่งจ็อกกิ้ง ๑๕ นาทีขึ้นไป และกระบวนการบันทึกหลังจากพักเหนื่อย เป็นเวลา ๑๐ นาทีขึ้นไป การศึกษาทดลองพบว่า ระยะทางที่ได้จากการวัดการวิ่งมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การบันทึกช่วยกำกับดูแลวินัยและสร้างเจตจำนงมุ่งมั่นเพียรพยายาม เวลาที่ใช้ออกกำลังกายมีแนวโน้มมากขึ้นอย่างสมัครใจ เมื่อประกอบกับการวัดอัตราการเต้นของหัวใจหลังกระบวนการบันทึกพบว่า แนวโน้มอัตราการเต้นของหัวใจปรับตัวลงอยู่ในระดับสมดุล สอดคล้องการศึกษาวิจัยก่อนหน้าของ ดร. เจม เพนเนบาเกอร์ที่พบว่าการเขียนช่วยให้ร่างกายปรับสู่สมดุลภาวะ ทางโครงการฯ ยังได้ทดลองศึกษาเพิ่มเติม พบว่า หลังกระบวนการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจปรับลดลงมา จากก่อนกระบวนการบันทึก ทั้งนี้ยังเป็นหนึ่งการทดลองศึกษาของโครงการฯ จะยังต้องมีการศึกษาต่อเนื่องในลำดับต่อไป สามารถติดตามผ่านสื่อของโครงการฯ