โค้งสุดท้ายของการทำโครงการ พัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการเขียนบำบัด กลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงในเรือนจำสมุทรปราการ 2566

  โค้งสุดท้ายของการทำโครงการ พัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการเขียนบำบัด กลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงในเรือนจำสมุทรปราการ เราเริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา อบรมชวนเรียนรู้การเขียนบันทึกเพื่อทบทวนตนเองและชีวิตมาอย่างต่อเนื่องในทุกๆ เดือน จนมาถึงเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งเป็นครั้งที่สิบและสิบเอ็ดของโครงการแล้ว ในวันจันทร์-อังคารที่ผ่านมา วันที่ 28-29 สิงหาคม 2566 เราได้ชวนกันเรียนรู้จากหนังสือ #ดอกไม้และความหวัง ซึ่งเป็นหนังสือแปลโดยครูโอเล่ ผู้รับผิดชอบโครงการนี้ เพื่อทบทวนบทเรียนของชีวิต และพัฒนาทักษะการเขียนในรูปแบบบทกลอนไฮกุ กลอนหัวเดียว และการเขียนนิทาน/เรื่องเล่า โดยใช้ไอเดียจากหนังสือเป็นแรงบันดาลใจ เกิดงานเขียนสั้นๆ และเป็นข้อคิดแก่ตนเองและเพื่อนร่วมเรียนด้วยกัน หวังว่าในเดือนหน้านี้เป็นต้นไป เราจะได้เริ่มเผยแพร่ผลึกความคิดของพวกเขาที่ตกผลึกจากการเรียนรู้ที่ผ่านมา ผู้เคยทำผิดพลาดในอดีต ก็สามารถเป็นครูที่สอนใจเราได้ในปัจจุบันเช่นกัน   ติดตามกิจกรรมสำหรับบุคลทั่วไป ได้ที่ www.dhammaliterary.org/open-course/  

การมอบรางวัลธรรมวรรณศิลป์ที่ผ่านมา

เวลาผ่านไปเร็วไว เราได้จัดประกวดงานเขียนเยาวชนมา 12 รุ่นแล้ว นับตั้งแต่ปี 2548-2549 เพื่อเป็นการฉลองชาตกาล 100 ปีท่านพุทธทาส โดยมี อ.ประชา หุตานุวัตร และทีมงานซึ่งตอนนั้นโครงการอยู่ภายใต้มูลนิธิเด็ก เป็นผู้ริเริ่ม ก่อนโครงการจะเดินทางมาสู่ร่มเงา สถาบันยุวโพธิชน มูลนิธิสัมมาชีพ มีครูโอเล่รับไม้ต่อและขยายกิจกรรมต่างๆ ให้กว้างขวางขึ้น ก้าวออกมาเป็น สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ในปัจจุบัน การประกวดของเราไม่ได้มีสาระสำคัญอยู่ที่การแข่งขันชิงรางวัล แต่เน้นที่การเปิดพื้นที่ให้โอกาสเยาวชนได้ทบทวนธรรมะซึ่งเชื่อมโยงกับชีวิตของตนเอง และเป็นการเฟ้นหาผู้นำรุ่นใหม่ เพื่อเปิดโอกาสให้เขาและเธอได้เข้ามาสู่เส้นทางของการเรียนรู้ ผ่านการจัดค่ายหรือกิจกรรมหลังจากมอบรางวัล และการเผยแพร่งานเขียนของพวกเขาสู่สังคม เป็นพื้นที่ให้เยาวชนได้ส่งเสียงความคิดให้ผู้ใหญ่ได้รับฟัง ทั้งในแง่มุมเรื่องการศึกษา วัดที่เขาปรารถนา ภาวะผู้นำ จนถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จำนวนน้องๆ ที่ได้รับรางวัลจากเราจนถึงต่อไป เป็นจำนวนเกิน 100 คนแล้ว รวมประมาณไม่น้อยกว่า 400,000 บาทสำหรับทุนการศึกษาที่มอบให้ เราดีใจที่ได้เห็นน้องๆ หลายคนที่ได้รางวัลจากโครงการ ได้ก้าวเดินต่อไปจนได้รับรางวัลจากที่ต่างๆ ทั้งรางวัลในระดับเยาวชนและรางวัลในระดับบุคคลทั่วไป เหมือนโครงการนี้ได้เป็นขั้นบันไดเริ่มต้นในการพัฒนาทักษะอ่านเขียนของน้อง เราได้แอบเห็นพวกเขาได้ก้าวเดินไปเป็นครูที่มีคุณภาพ เป็นนักเขียน กวี ทนายความ และอาชีพอื่นๆ ซึ่งเชื่อมั่นว่าเขาจะส่งต่อเมล็ดพันธุ์ที่ดีต่อไปในสังคม สิ่งเหล่านี้มีมูลค่ามากกว่าทุนการศึกษาที่เราให้มหาศาล เราทดลองรูปแบบของกิจกรรมประกวดอยู่เป็นระยะ มิว่าจะเป็นรูปแบบกติกา… Continue reading การมอบรางวัลธรรมวรรณศิลป์ที่ผ่านมา

มาเติมไฟให้ชีวิต ด้วยการสำรวจตัวตน และก้าวข้ามขอบความคิด ในหลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ 55

  มาเติมไฟให้ชีวิต ด้วยการสำรวจตัวตน และก้าวข้ามขอบความคิด ในหลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ 55 การเขียนบำบัดเพื่อการเปลี่ยนแปลง เรียนออฟไลน์-ค่าใช้จ่ายตามทุนทรัพย์-รับจำนวนจำกัด มีสองหัวข้อให้เลือกหรือเข้าครบทั้งสองกิจกรรม . “เขียนค้นตน : Self-Discovery Journal” วันที่ 2-3 กันยายน 2566 เวลา 9.30 – 16.30 น. ณ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ คลองสี่ ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี เรียนการเขียนบำบัดเพื่อการรู้จักตนเองในหลากหลายด้าน ทั้งในจิตสำนึกและใต้สำนึก หากสนใจหลักสูตรนี้ คลิกเลยด้านล่าง https://www.dhammaliterary.org/selfdiscoveryjournal/ . “เขียน.ข้าม.ขอบ : การเขียนบำบัดเพื่อปลดล็อกความคิด” วันที่ 9 – 10 ธันวาคม 2566 เวลา 9.30 – 16.30 น. ณ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ คลองสี่ ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี… Continue reading มาเติมไฟให้ชีวิต ด้วยการสำรวจตัวตน และก้าวข้ามขอบความคิด ในหลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ 55

กิจกรรมอ่านหนังสือ ดอกไม้และความหวัง

  “ผมแปลหนังสือ Hope for the flowers เมื่อปี 2554 จนแล้วเสร็จเป็นรูปเป็นร่างได้จัดพิมพ์ปี 2555 โดยมีอาจารย์ประชา หุตานุวัตร เป็นบรรณาธิการและผู้ประสานสิบทิศช่วยติดต่อผู้เขียน โรงพิมพ์ และผู้เชี่ยวชาญด้าน Artwork จนเล่มหนังสือออกมาสวยงามและใกล้เคียงกับต้นฉบับ ถือเป็นเวอร์ชั่นแปลไทยครั้งแรกที่ได้รับอนุญาตถูกต้องจากผู้เขียน – ทริน่า พอลัส นักกิจกรรมตลอดชีวิต เช่นเดียวกันกับอาจารย์ประชา “ผมได้แปลเล่มนี้จากความอยากรู้อยากเห็นว่าเวอร์ชั่นแอบแปลของไทยที่มีมาก่อนหน้า ซึ่งผู้เขียนเรียกว่าเวอร์ชั่นโจรสลัด มีความแตกต่างจากต้นฉบับอย่างไร จึงสั่งทางไกลมาลองอ่าน นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นทำให้ริเริ่มแปลใหม่เอง เพราะเมื่อได้อ่านฉบับของไทยที่แปลมาก่อนหน้าสองเวอร์ชั่นพบว่าเนื้อหาหรือบางข้อความถูกตัดทอนออกไป ด้วยการแปลแบบเน้นเนื้อความและเรียบเรียงใหม่ ซึ่งทำให้ความหมายแฝงที่สื่อถึงเรื่องทางสังคมถูกลดทอน “อีกเสน่ห์หนึ่งของต้นฉบับในมุมมองผมคือการใช้คำที่ง่าย สั้น กระชับ แต่สวยงาม บางจุดอ่านแล้วมีความคล้องจองเหมือนอ่านบทกวีฝรั่ง นั่นจึงเป็นแรงบันดาลใจในการแปลเล่มนี้ให้เหมือนกับการแปลบทกวีชิ้นหนึ่ง พยายามสื่อเสน่ห์แบบเดียวกันนี้ในแบบฉบับภาษาไทยให้ได้มากที่สุด โดยมีอาจารย์ประชาช่วยตัดแต่งให้กระชับ และตรงความหมายของคำในต้นฉบับมากขึ้น “ชื่อหนังสือเล่มนี้เป็นอีกหนึ่งจุดที่ใช้เวลานานในการเลือกและคิดกันในทีมงาน ตอนแรกผมลงไว้ในฉบับร่างว่า “ความหวังแด่มวลดอกไม้” แปลตรงจากชื่อและเห็นว่ามันสะท้อนเจตนาของผู้เขียนที่ต้องการให้หนังสือเล่มนี้เป็นความหวังที่จะมี “ดอกไม้” งอกงามมากขึ้นบนโลก แต่ชื่อนี้ก็ยังไม่ลงตัว ยาวเกินไป ยังไม่สวยงาม จนสุดท้ายก็ได้ชื่อ “ดอกไม้และความหวัง” ชื่อเล็กๆ เรียบง่าย แต่มีความหมายยิ่งใหญ่ในตัวเอง “ความดีงามของหนังสือ… Continue reading กิจกรรมอ่านหนังสือ ดอกไม้และความหวัง

รอบสุดท้ายของปี ! ห้องเรียน พลังแห่งจิต รุ่นที่ 19

  รอบสุดท้ายของปีนี้ ! ห้องเรียน พลังแห่งจิต 🧚‍♂️ รุ่นที่ 19 เรียนการสะกดจิตบำบัดและฝึกหัดใจ ผ่านหลักคิดวิธีพุทธและศาสตร์ Hypnosis “ตอนแรกคิดว่าการฝึกสะกดจิตตัวเองหรือผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องยากและค่อนข้างไกลตัว เมื่อมาเรียนแล้วจึงพบว่าเราสะกดจิตตัวเอง ผู้อื่น และโดนผู้อื่นสะกดจิตตลอดเวลาในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ผ่านทั้งคำพูด การกระทำ และสัญลักษณ์ต่างๆ “ครูโอเล่ได้สอนความเข้าใจหลายๆ อย่างที่คิดว่ายากให้เป็นสิ่งที่ง่ายและจับต้อง เข้าใจได้ง่าย อันนี้เป็นสิ่งที่ประทับใจมาก อีกทั้งบรรยากาศในห้องเรียนที่อบอุ่น เป็นกันเองของทุกคนที่ร่วมกันเรียนรู้ ทำให้เกิดความสงบ สบาย สนุก วางใจได้โดยง่าย” / คุณเจี๊ยบ ผู้เรียนรุ่นที่ 5   👉 เนื้อหาการอบรมสี่วัน (ขั้นต้นและกลาง รุ่นที่ 19) : วันที่ 9 – 10 , 16 – 17 กันยายน 2566 (เสารอาทิตย์) เรียนผ่านโปรแกรม Zoom 1. ทำความรู้จักการสะกดจิต และแก่นแท้ของการสะกดจิตที่มีอยู่ในชีวิต… Continue reading รอบสุดท้ายของปี ! ห้องเรียน พลังแห่งจิต รุ่นที่ 19

ใกล้ปิดรับสมัคร เขียนภาวนา ประจำปี 2566

  “ตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือน ที่ได้เรียนคอร์สเขียนภาวนา นับเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตตั้งแต่เกิดมา ในทุกๆวันได้มีกิจกรรม มีภาวะความรู้สึกที่เคล้าเคลียอยู่กับการภาวนา การเรียนรู้กายใจตลอด “กิจกรรมหัวข้อต่างๆที่ลงมือทำ ก่อให้เกิดการเห็น ความเข้าใจ การยอมรับสภาวะต่างๆ คลายความหนัก ความยึดถือลงเนืองๆ คำสนทนา การชี้สภาวะหรือสิ่งที่ติดอยู่จากครู อาจไม่ใช่คำชื่นชมให้กำลังใจทั้งหมด จนบางครั้งเกิดความขุ่นมัวในใจ แต่เมื่อม่านหมอกกิเลสนั้นสลายไป ได้เห็นว่าทุกคำชี้แนะนั้นเป็นความจริงอย่างที่สุด และกลับก่อเกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกที่ควรมากยิ่งๆขึ้น “ความฟุ้งซ่าน นิวรณ์ห้า รู้สึกลดลง มีสมาธิมีสภาวะตั้งมั่นมากขึ้น มีความอดทน ทำในสิ่งที่ถูกที่ควรทำ แม้ในตอนเริ่มต้นก่อนที่จะลงมือทำกิเลสจะหลอกให้เราหยุด ในกับทั้งทางการภาวนาและบทบาทหน้าที่ทางโลก อุเบกขา เป็นสิ่งที่มักมองข้าม จนทำให้ทุกข์ รู้สึกผิด และเบียดเยียนตัวเอง ได้เข้าใจสิ่งนี้มากขึ้น “อิสระนั้นมิได้หมายถึงการทำอะไรก็ได้ตามใจอยาก แต่การทำตามใจอยากนั้นแหละ อาจเป็นคุกที่คุมขังเราไว้เรามิได้เดินเพื่อถึงจุดหมายใด แต่เพื่อทำให้ทุกย่างก้าวมีคุณค่าอย่างแท้จริง ยิ่งรีบ ยิ่งเร่ง ยิ่งออกไป ยิ่งค้นหา ยิ่งไม่เจอ” / คุณจักรทิพย์ (โจ๊ก) ผู้เรียนปี 2563   🌼 หลักสูตร #เขียนภาวนา Meditation Writing :… Continue reading ใกล้ปิดรับสมัคร เขียนภาวนา ประจำปี 2566

สิ่งที่ผู้ต้องขังได้รับในกิจกรรมเขียนบำบัด ในวันที่ 4 และ 5 ประจำปี 2566

  …รู้สึกดีใจที่ได้ระบายลงสมุดเวลาเราเครียดมันจะทําให้เรารู้สึกดีค่ะ …รู้สึกดีที่เราได้ระบายในเรื่องที่เราไม่ได้อยากให้คนอื่นรู้เรื่องของเราเราสามารถเขียนระบายลงในกระดาษ ได้ โดยที่เขาไม่รู้สึกอะไร ฟังได้หมด ถ้าเป็นคนอาจฟังแล้วรับไม่ได้ …ถ้าเราเขียนในข้อดีๆเราก็จะมีแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนหรือทําสิ่งที่ดีต่อไปนํามาเป็นแรงบันดาลใจได้ 📒 นี่เป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ผู้เรียนของเราได้รับจากการเขียนบำบัดใน “โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาผ่านการเขียนบําบัด กลุ่มผู้ต้องขังแดนหญิงในเรือนจําสมุทรปราการ” ในวันที่ 4 และ 5 จากทั้งหมด 12 วัน (เมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2566) กิจกรรมในสองวันนี้เป็นการทบทวนชีวิตจากความทบทวนและเส้นทางที่ผ่านมา ใคร่ครวญความรู้สึกและความต้องการของตนเองในเหตุการณ์เหล่านั้นเพื่อเพิ่มความตระหนักรู้และความเข้าใจต่อตนเอง ผู้ต้องขังที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ต้องคดีจากเรื่องยาเสพติด เกือบทุกคนมีโรคเรื้อรัง เป็นคนชายขอบที่ขาดโอกาสในการเข้าถึงการเรียนรู้ที่ดี แม้แต่กิจกรรมในเรือนจำบางครั้งก็ไม่สามารถเข้าร่วมได้เพราะถูกจัดเป็นกลุ่มเปราะบางเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพ มีพื้นเพที่ต้องพบเจอกับปัญหาความยากจน ความร้าวฉานในครอบครัว และความทุกข์ยากตั้งแต่วัยเด็ก เป้าหมายของเราคือการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญา โดยเริ่มจากความเข้มแข็งทางใจ แล้วบ่มเพาะกำลังของสติปัญญา เพื่อการเติบโตและการเลือกเส้นทางชีวิตในวันหน้าอย่างมีภูมิต้านทานต่อโลกที่หลายครั้งๆ ก็โหดร้ายกับเราเหลือเกิน …ชีวิตเหมือนกับสายน้ําต้องผจญกับทุกข์ปัญหาแต่เราก็ต้องสู้ต่อไปชีวิตจะสอนให้เรารู้ว่าต่อไปนี้เราต้อง ปรึกษาครอบครัวเราให้มากที่สุด อย่าใช้ชีวิตลําพัง …วันนี้รู้สึกมีความรู้สึกดีๆให้กับเพื่อนที่เราไม่ได้สนิทกัน พอได้จับคู่กันได้เล่าความรู้สึกของกันเราอาจจะ มองไม่ถึงจุดนี้ของเขา ทําให้เรามีความรักความเมตตาให้กับเขามากขึ้น …ได้รู้เกี่ยวกับชีวิตครอบครัวของแต่ละคนไม่ได้มาจากที่สูงหรือต่ำเกินไป เราสามารถเป็นเพื่อนกันได้ มีความสุขในแบบหนึ่งได้ • เหมือนได้ย้อนอดีตและความทรงจําเก่าๆดีๆ ได้มิตรภาพจากเพื่อนทุกคน มีที่มามีเหตุการณ์ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน รู้สึกทําให้เราดีขึ้น 🙏 ติดตามกิจกรรมเปิดรับคนทั่วไปของเราได้ที่ https://www.dhammaliterary.org/open-course/ และเพจเฟสบุ๊ค สถาบันธรรมวรรณศิลป์… Continue reading สิ่งที่ผู้ต้องขังได้รับในกิจกรรมเขียนบำบัด ในวันที่ 4 และ 5 ประจำปี 2566

ในเมื่อเราทุกคนต้องตาย จึงควรเมตตากัน

  หลายๆ ครั้งเราก็ทะเลาะกัน เพราะเอาสิ่งอันไม่จีรังยั่งยืนมาเปรียบเทียบแข่งกัน ฉันเก่งกว่าบ้าง ฉันมีคุณธรรมมากกว่าบ้าง ฉันรักชาติยิ่งกว่า หรือฉันด้อยมากเรื่องทักษะนั้น ความรู้นี้ ถึงแม้สิ่งเหล่านี้ไม่มีอะไรที่กล่าวได้ว่าเป็นของฉันหรือตัวตนฉันได้อย่างแท้จริงเลย “สัตว์ที่ยืน นั่ง นอน หรือเดินอยู่ อายุสังขารหาได้เป็นไปตามด้วยไม่ วัยย่อมเสื่อมไปทุกขณะที่หลับตาและลืมตา” **** เราจึงไม่ควรประมาทเสียเวลาไปกับการจ้องจับผิดผู้อื่น จ้องทำร้ายและบาดหมางต่อกัน เพราะเวลาชีวิตของเราเองก็ถอยหลังลงไปเรื่อยๆ ในทุกขณะที่หลับตาและลืมตา เราเดินเข้าไปหาความตายใกล้มากขึ้นตามลำดับ ไม่พึงถือความผิดพลาดของผู้อื่นเป็นเรื่องจริงจังจนเป็นทุกข์ เพราะการกระทำทางกาย วาจา และใจของเขาเองก็อยู่ในกฎไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยงแท้ ย่อมมีเสื่อมลง และเป็นไปตามปัจจัยต่างๆ แม้แต่การกระทำดีๆ ของคนอื่นก็ไม่เอาเป็นตัวตนของเราหรือของๆ เราให้ยึดถือได้ตลอดไป ในนิทานชาดกของพระไตรปิฎกยังกล่าวอีกว่า “เพราะวัยเสื่อมไปอย่างนั้นหนอ อัตภาพย่อมบกพร่อง หนทางที่คนเดิน เมื่อต้องมีความพลัดพรากจากกันโดยไม่ต้องสงสัย หมู่สัตว์ที่ยังเหลืออยู่ ควรมีเมตตาเอ็นดูกัน ส่วนที่ตายไปแล้ว ไม่ควรจะต้องเศร้าโศกถึง” **** คนทะเลาะกันเพราะจิตไปยึดติดในท่าทีการกระทำและบางด้านของอีกฝ่ายในลักษณะความเป็นตัวตน คิดไปเองว่าฉันและเธอไม่เหมือนกัน จนหลงลืมว่าวันหนึ่งต่างฝ่ายต่างก็ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยและตายลงทั้งสิ้น เป็นเพื่อนร่วมทุกข์บนโลกใบนี้ทั้งสิ้น ในเมื่อทุกคนต่างต้องตาย เราจึงควรเมตตาต่อกัน ใช้เวลาที่ยังมีอยู่ของชีวิตตนเองเพื่อความสงบสันติแก่ตัวเองและผู้อื่น การยิ่งจงเกลียดจงชังให้ร้ายต่อกัน มิเคยทำให้ใจถึงความสงบสันติได้เลย และมีแต่พาชีวิตล่วงไปอย่างไร้ความหมาย สิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่อาจคว้ามา สิ่งที่ยังมีอยู่คือสิ่งที่เราควรใส่ใจอย่างแท้จริง คนที่ยังอยู่กับเราคือคนที่เราควรเมตตาต่อกัน… Continue reading ในเมื่อเราทุกคนต้องตาย จึงควรเมตตากัน

หลักสูตรพิเศษ “บทกวี กับ การภาวนา”

  ขอเชิญศิษย์เก่าครูโอเล่และนักเรียนหลักสูตรต่างๆ ของสถาบันธรรมวรรณศิลป์ ร่วมเรียนรู้ผ่านกิจกรรม “บทกวี กับ การภาวนา” ค่าใช้จ่ายบริจาคตามกำลังทรัพย์ ในวันที่ 24 – 25 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 น. – 16.30 น. ณ สำนักงานใหม่ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ซอย หมู่บ้านอยู่เจริญ 3 คลองสี่ ลำลูกกา (ระยะทาง 10 กิโลเมตร จากสถานี BTS คูคต / 13 กิโลเมตร จากสถานี BTS รังสิต) แผนที่ : https://goo.gl/maps/yRhQMPmr1nGSnJvB8   การอบรมพิเศษนี้ประกอบด้วยกิจกรรมการอ่านบทกวี การนั่งสมาธิ การฝึกเขียนบทกวีง่ายๆ ในรูปแบบของกลอนเปล่า กลอนสามบรรทัด กลอนไฮกุ และเทคนิควิธีการจากหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต และ เขียนภาวนา เน้นการฝึกปฏิบัติและการแลกเปลี่ยนทบทวนกับเพื่อนร่วมเรียน… Continue reading หลักสูตรพิเศษ “บทกวี กับ การภาวนา”

3 มิถุนายนนี้พบกับ write re-lete

  พบกับกิจกรรม “เขียน.ปล่อยวาง | Write & Re-lete” โดย อนุรักษ์ เม่นหรุม (ครูโอเล่) ผู้อำนวยการสถาบันธรรมวรรณศิลป์ นักเขียนผู้สร้างพื้นที่ให้แผ่นกระดาษเป็นที่ปลดปล่อยเรื่องราวจากข้างใน ในวันที่ 3 มิถุนายน 2566 เวลา 16.30 – 18.30 น. ณ ห้องนิทรรศการ มิวเซียมสยาม (MRT สนามไชย ทางออก 1) ในงาน Healing House: ฮีลละไม ใจละมุน   ลงทะเบียนเข้างานฟรี https://bit.ly/3MEh9Ng