“รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓

    “รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓  โดย น้องเล็ก     “ต่างกันแค่ไหน แต่ถ้าขาดกันไป คงจะไม่ไหว ไปไม่รอดสักอัน มาเป็นคู่ช่วยกันอยู่ทุกที ถึงต่างกันอย่างนี้ก็เป็นคู่กัน” *   ความรักคืออะไร? What is love? ฉันนึกถึงคำถามนี้ขึ้นมา เมื่อรู้สึกว่า สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตได้โบยบินจากไปแล้ว… แนวทางชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกันไป หากเมื่อมีชะตาที่จะต้องเดินทางร่วมกันและได้ใช้เวลาด้วยกันอย่างมีคุณค่า ด้วยความรัก การสังเกตเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน จะได้พบเจอประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยกัน และแบ่งปันเรื่องราวเก่าๆ ให้แต่ละคนได้รับรู้ เวลาที่มีคุณค่ามากมาย ช่วงเวลาเหล่านี้คงเป็นความทรงจำที่ดี ตราตรึงอยู่ในหัวใจตลอด… ทว่าหากตลอดเวลาที่ใช้อยู่ด้วยกันกลับมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยึดมั่นถือมั่นในอีกฝ่ายมากเกินไป หรือกลับดูถูกเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งไม่ว่าเหตุผลอะไรก็ตาม ผลลัพธ์ของช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันจะถูกตีค่าออกมาเป็นความเจ็บปวด พร้อมๆ กับบาดแผลเรื้อรังที่จะคอยกัดกินใจ และทำลายจิต กลายเป็นระเบิดเวลาที่ตัวเลขลดน้อยลงเรื่อยๆ เพื่อรอวันที่ความอึดอัดจะระเบิดออกมา และสาเหตุที่น่าเจ็บปวดที่สุดในการที่จะก่อระเบิดเวลานี้ก็คือ ‘ความไม่เข้าใจกัน’ ‘การไม่ลงรอยกัน’ เป็นปัญหาใหญ่ระดับจักรวาลเลยก็ว่าได้ อันเนื่องมาจาก ‘ความไม่สมดุล’ ความไม่สมดุลนี้แหละที่เป็นตัวการในการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภาพใต้ท้องฟ้ากว้างใหญ่ ท่ามกลางหุบเขาสายรุ้ง และระหว่างดวงดาวน้อยใหญ่ทั่วทั้งเอกภพ ดาราจักร… Continue reading “รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓

แน่ใจรัก

  หายใจเข้า  ให้แน่ใจว่าใจเราใส่ใจลมหายใจทุกละอองละเอียดอ่อนและทุกจังหวะหายใจเข้าช้า เร็ว รับรู้การเดินทางมาถึง จวบจนไหลลงสู่ร่างกาย ผ่านอวัยวะและส่วนต่างๆ เราติดตามการเดินทางของเขา หรือเพียงต้อนรับอยู่ที่หน้าประตู หายใจออก อำลาพวกเขากลับคืนสู่บ้านอันกว้างใหญ่ ให้แน่ใจว่าเราได้ใช้เวลากับเขาอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้ว เพื่อมิให้หม่นหมองไขว่คว้ายามลมหายใจลับลาเลือน เมื่อเรารู้สึก เนื่องด้วยเหตุการณ์กระทบใจ หรือสิ่งใดมาผูกพันใจเรา ลองสำรวจภายในตน ถามจิตใจว่า ฉันรู้สึกอะไร รับรู้ความรู้สึกนั้น แต่อย่าเพิ่งปักใจเชื่อสนิทใจ เบื้องหลังของดอกไม้หอม และกลีบงาม ย่อมมีลำต้นผิวกร้านหยาบ มีรากหยั่งลงดิน ได้สารอาหารจากใบไม้และธาตุนานา  เบื้องหลังอารมณ์ที่เรารับรู้ อาจมีความรู้สึกอื่นๆ ซ่อนอยู่ และมีความต้องการเบื้องหลังอันเป็นที่มาผลิความรู้สึกให้รู้สา หายใจเข้า  ที่มาแห่งดอกไม้หอม อาจเป็นปุ๋ยอันเปื่อยเน่าในดิน ที่มาแห่งดอกไม้กลีบงามสวย อาจเพราะด้วยซากพืชซากสัตว์อันมิน่าดูชมที่หมักหมมอยู่ภายใน ความรู้สึกที่อยู่เบื้องหลังการกระทำต่างๆ ของเรา ย่อมมีที่มาเหมือนดอกไม้ของต้นไม้ เพราะมีบางสิ่งบางอย่างแอบซ่อนหรือหมักหมมภายใน หายใจออก  กลับมารับรู้ความรู้สึกของเราในยามหวั่นไหว เมื่อเราโกรธจนตัวสั่นเทา หรือเขินอายหน้าแดง หรือยามดีใจโลดเต้น ลึกๆ แล้วเรายังรู้สึกอะไร เบื้องหลังหัวใจมีความรู้สึกที่แอบซ่อน  ความโกรธอาจปกป้องความกลัวไว้เบื้องหลัง เราอาจรู้สึกน้อยใจหรือเปลี่ยวเหงา ความโกรธมักต้องการเรียกร้องให้ผู้อื่นดูแล บางทีในเวลานั้นเราต้องการใครสักคนเคียงข้าง แต่มิมีมือใดแลเหลียว ยามเราเขินอาย เราอาจรู้สึกมีคุณค่าอยู่ภายใน เราอาจหวังผู้อื่นชื่นชมหรือให้ความรักแก่เรา… Continue reading แน่ใจรัก

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๒

  “แน่ใจรัก” …รักเช่นนี้จึงเป็นเพียงวิธีการ เราหลบเลี่ยงมิกล้าเผชิญต่อความรู้สึกที่ซ่อนในเงาใจ ละทิ้งความต้องการพื้นฐานของตน แล้วหวังพึ่งพาสิ่งภายนอกตัว เมื่อเรามิได้แน่ใจรักต่อตัวเอง เราจึงมิอาจแน่ใจรักต่อใครแท้จริง… “รักลงรอย” …ฉันนึกถึงคำถามนี้ขึ้นมา เมื่อรู้สึกว่า สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตได้โบยบินจากไปแล้ว… “พันธสัญญาแห่งความเงียบงัน” …ถ้อยคำทั้งหลาย ล้วนเดินทางมาแสนไกล ล้ำลึกจากโลกภายใน ท้องทะเลหัวใจแห่งเธอ ยามคลื่นซัดโครมเข้าใส่ ฉันเฝ้าฟังดั่งหาดทราย…   อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๒ ณ ตุลาคม ๒๕๕๘ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ 
อนุสารรายครึ่งเดือน 
คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด ดาวโหลดได้ที่ อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๒ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/10/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๒.pdf   ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๒ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง ความทุกข์กับชีวิตของฉัน ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน แน่ใจรัก ๓. คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก ตอน รักลงรอย ๔. คอลัมน์กวี สัมผัสใน “พันธสัญญาแห่งความเงียบงัน”… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๒

“ก่อรูป” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๒

  คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๒ ตอน “ก่อรูป” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์   ผลจากการประชุมอย่างหนึ่งที่แน่ๆก็คือเราต้องหาสมาชิกเพิ่ม  พยายามขยายไปตามโรงเรียนต่างๆให้มากที่สุด ผมจำได้ว่าเราทำกันสองสามวิธี  ประการแรกก็คือไปหาเพื่อนต่างโรงเรียนที่เรารู้จัก ผมเข้าใจว่า ป้อม สุจินดา เพื่อนบ้านงิ้วรายของชีฯเป็นคนหนึ่งที่เข้ามาด้วยวิธีนี้ เธอเรียนอยู่สตรีวัดระฆัง ผมชวนหลายสาวที่เรียนอยู่สตรีวิทย์  มนัสชวนเพื่อนจากสุวรรณาราม ผมเข้าใจว่าเพื่อนศึกษานารีที่จัดงานภาษาอังกฤษด้วยกัน มาร่วมประชุมตั้งแต่ต้นที่บ้านโตแล้ว แต่มีสองคนจากศึกษานารี ที่ไม่ได้ร่วมกับงานชมรมฯ แต่ไปเจอกันที่ศึกษิตสยาม คือรังสิมา ลิมปิสวัสดิ์ และ วาสนา พุ่มพัดตุน สองคนนี้เป็นศิษย์ก้นกุฏิของอาจารย์ภัทรศรี อนุมานราชธน  หนีโรงเรียนไปเหมือนเรา เพราะอ่านหนังสืองงานศพของโกมล คีมทองเหมือนกัน จำได้ว่าตอนจะตั้งกลุ่ม นัดเจอเธอทั้งสองที่ข้างห้องสมุดวัดอนงคาราม ตรงวงเวียนเล็กในสมัยนั้น เธอทั้งสองอยู่มศ.๔ ผมอยู่มศ.๕ สันติสุข โสภณสิริอาจจะอยู่ด้วย เพราะเข้าคุ้นกับห้องสมุดนี้ดี เขาเคยบอกว่าเขาอ่านหนังสือหมดทุกเล่มในห้องสมุดนี้ อีกวิธีหนึ่งคือไปตามโรงเรียนที่มีครูฝึกสอนที่เคยมาสอนเรา และสนิทสนมกัน ผมจำได้ว่าทำให้เราได้เพื่อนจากวิทยาลัยครูธนบุรี มาร่วมด้วย… Continue reading “ก่อรูป” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๒

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๑

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๑ ณ กันยายน ๒๕๕๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ 
อนุสารรายครึ่งเดือน 
คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน ดาวโหลดได้ที่  อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๑ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/09/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๑.pdf     ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๑ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง ขอบคุณทุกๆทุกข์ ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน แลกด้วยชีวิต     ภาพประกอบจากการอบรม ณ สำนักสงฆ์เขาชะเมาวิมุติ ร่วมกับโครงการภาวนาคือชีวิต ในวันที่ ๒๒ ถึง ๒๔ กันยายน ๒๕๕๘   { ธรรมวรรณศิลป์ มี ๒ นัยยะสำคัญ {หนึ่ง วรรณศิลป์ที่ส่งมอบความดี ความงาม และความจริงแก่ผู้อ่านและสังคม สอง… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๑

แลกด้วยชีวิต

  หายใจเข้า  ทุกลมหายใจคือการตัดสินใจ หายใจออก ทุกการตัดสินใจคือความรับผิดชอบต่อชีวิต เมื่อเราจรดปลายปากกา ทุกถ้อยคำที่ลากเส้นขดม้วน ตรงและโค้ง คือการเลือกและการตัดสินใจ ทุกๆ เสี้ยวเวลาแห่งการเขียน เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบและการกล้าเข้าแลก ชีวิตเราอยู่กับการตัดสินใจเกือบตลอดเวลา ตั้งแต่ยามเช้าเราเลือกว่า จะหยิบสวมเสื้อผ้าใด ทักทายคนในครอบครัวอย่างไร กินข้าวเช้ากับอะไร จะรับมือกับปัญหาจราจร เดินทางไปทำงาน และจัดการกับภาระงานตลอดทั้งวันอย่างไรบ้าง  เราต้องตัดสินใจนับตั้งแต่ตื่นนอนจวบจนสิ้นวัน สถานการณ์ต่างๆ มาให้เราได้เลือกได้ตัดสินใจรู้สึก นึกคิด และลงมือทำ ชีวิตเราขึ้นอยู่กับปัจจัยนานา ทว่าสิ่งสำคัญนั้นคือการตัดสินใจของเราเอง ทุกขณะใจ มีการเลือกและการตัดสินใจแทบตลอดเวลา เมื่อเราพบเจอสิ่งมากระทบความรู้สึก จิตใจเลือกเฟ้นท่าที คิด รู้สึก และตอบโต้  ทุกความรู้สึกในใจเรามิใช่ความรับผิดชอบของผู้อื่น แต่เกิดจากการเลือกของตัวเราเอง เราเลือกสร้างความรู้สึกนั้นขึ้นมา โดยอาศัยสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นเครื่องปรุง หายใจเข้า หัวใจคือหน้ากระดาษ และจานอาหาร เรามีวัตถุดิบจากภายนอกตัว นำมาคลุกเคล้าและสร้างผลงานเขียนหรืออาหารจานใหม่ด้วยมือเราเอง หายใจออก จิตใจเรามีศักยภาพแห่งการสร้างสรรค์ เราคิด รู้สึก และปรุงแต่งภายในตลอดเวลา เหมือนสมุดบันทึกที่เราเลือกเขียนสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเราเอง ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในใจเราคือผลของการเลือกของตัวเราเอง ทุกขณะที่เราจรดปลายปากกาลง มิว่าลงบนหน้ากระดาษสมุดบันทึกหรือกระดาษแห่งจิตใจ ทุกคำที่เขียน คือการตัดสินใจของตัวเรา… Continue reading แลกด้วยชีวิต

การอบรม “เขียน = มหัศจรรย์ชีวิต” ประจำปี ๒๕๕๘

การอบรมกระบวนการเขียนทางจิตวิทยาเพื่อการใคร่ครวญชีวิตและการภาวนา “เขียน = มหัศจรรย์ชีวิต” : ใคร่ครวญสายธาร + เล่นล้อสัญญาณ + บ่มจิตวิญญาณ คอร์สกึ่งออนไลน์ เขียนเปลี่ยนชีวิต ชุดที่ ๑๐ @๒๕๕๘   โดย ศูนย์การเขียนเปลี่ยนชีวิต สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ผู้ริเริ่มคอร์สกึ่งออนไลน์การเขียนบันทึกเพื่อพัฒนาชีวิตแห่งแรกในประเทศไทยและมุ่งมั่นการจัดกิจกรรมเนื้อหาเชิงลึกและการให้คำปรึกษาที่ค่าใช้จ่ายน้อยและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้อย่างยั่งยืน   “เดินทางภายในจิตใจ ผ่านสายธารแห่งชีวิต สัญญาณนิมิตหลากหลาย 
ภาวนาเพื่อบ่มเพาะหัวใจและจิตวิญญาณ”   ที่มาและความสำคัญ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ ได้จัดการอบรมและการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับการเขียนบันทึกและการเขียนเชิงกระบวนการเพื่อดูแลและพัฒนาสุขภาวะทางจิตใจและร่างกาย ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อตนเองและความเข้าใจชีวิต โดยไม่ต้องอาศัยทักษะการเขียนและทักษะด้านศิลปะ พร้อมกระบวนการกลุ่มการเรียนรู้แบบผ่านประสบการณ์อย่างมีส่วนร่วม ควบคู่กับกระบวนการเรียนรู้แบบจิตปัญญาศึกษา ให้กับกลุ่มบุคคลทั่วไปและกลุ่มเฉพาะ หลากหลายอาชีพและช่วงวัย การอบรมในลักษณะนี้ทั้งแบบในห้องเรียนและทางไกล เป็นการอบรมที่ผสมผสานการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ การผ่านประสบการณ์อย่างมีส่วนร่วม และกระบวนการทางจิตวิทยา ประเด็นสำคัญของการอบรมชุดนี้ ๑. การเขียนเชิงกระบวนการและการเขียนบันทึกเพื่อส่งเสริมการภาวนา ๒. การเขียนเชิงกระบวนการและกิจกรรมใคร่ครวญชีวิตมิติเรื่องราว สัญญาณและนัยยะชีวิต ๓. การเขียนเชิงกระบวนการเพื่อฝึกฝนทักษะการเล่นล้อกับสัญญาณในชีวิตและในการเขียนรูปแบบต่างๆ รูปแบบการอบรม การอบรมแบ่งเป็น ๓ รูปแบบ ดังนี้ ๑. อบรมเฉพาะ… Continue reading การอบรม “เขียน = มหัศจรรย์ชีวิต” ประจำปี ๒๕๕๘

“จุดเริ่มต้น” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๑

  คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๑ ตอน “จุดเริ่มต้น” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์     เย็นวันนั้นของเดือนสิ่งหาคม ๒๕๑๔ เป็นเย็นวันสุดท้ายของงานสังคมนิทัศน์ ชีรชัย มฤคพิทักษ์เดินมาหาผมที่ห้องนิทัศน์การเกี่ยวกับสวนโมกข์  มนัส จินตณดิลกกุล เพื่อนๆจากศึกษานารีที่เคยจัดงานของชมรมภาษาอังกฤษ และผมเป็นคนช่วยกันจัดห้องนี้ ชีรชัย ชวนให้มนัสกับผมไปช่วยพูดหาเสียงที่โรงอาหารใกล้ศาลาพระเสร็จในโครงการ “เลือกตั้งจำลอง” ที่เขาและเพื่อนอีกหลายโรงเรียนเป็นคนจัด  เป็นการพูดเกือบจะปิดท้าย จำได้ว่าประเด็นเก๋ของการหาเสียงของคณะนี้ก็คือ ดอกไม้ประจำชาติไทยคือดอกเบี้ย เพราะรัฐกู้เงินต่างประเทศมามาก และงบประมาณจำนวนมากถูกใช้ไปเพื่อชำระดอกเบี้ย คนที่พูดเรื่องได้เด็ดคือพเยาว์ ยรรยงยุทธ์ นักเรียนจากโรงเรียนเอกชนฝั่งธนฯผมจำชื่อไม่ได้เสียแล้ว เมื่อชีรชัยมาชวนให้ผมไปพูดนั้น “เฮ้ย กูพูดไม่เป็นนะเรื่องอื่น พูดได้เรื่องเดียวเรื่องการศึกษา” ผมออกตัวเพราะกำลังตื่นเต้นกับแนวคิดวิพากษ์การศึกษาของท่านอาจารย์พุทธทาส “เออ นั่นแหละ เอาเลย” ชีฯให้กำลังใจ ที่ผมมั่นใจว่าพูดเรื่องนี้ได้ เพราะตอนนั้นผมกำลังอ่านงานท่านอาจารย์พุทธทาสมาก ท่านก็โจมตีระบบการศึกษามาก เรื่องนี้คงขึ้นสมอง ประเด็นที่พูดก็ไม่น่าจะมีอะไรมากไปกว่า ระบบการศึกษาปัจจุบันทำให้คนเห็นแก่ตัว และทำลายความเป็นมนุษย์อะไรทำนองนั้น ผมคงพูดได้มันพอสมควรเพราะกำลังเบื่อหน่ายกับการแข็งขันในห้องเรียนอย่างยิ่ง… Continue reading “จุดเริ่มต้น” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๑

บันทึกกิจกรรมและความรู้สึกหลังการเรียน ## ปอง

บันทึกกิจกรรมและความรู้สึกหลังการเรียน ## ปอง หลักสูตร ห้องเรียนนักกล้าฝัน เดือนแรก     วันที่ 5 กันยายน 2558 หัวข้อ “พื้นที่ชีวิต ความปลอดภัย และ ความไว้วางใจ” โดย อ.อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม ประสบการณ์และความรู้สึกหลังการเรียน   ประทับใจมาก เมื่อเทียบกับการเรียนกระบวนกรชั้นต้นในสถาบันอื่น กิจกรรมที่อ.โอเล่ให้ลองทำในวันแรกนี้ สัมผัสได้ถึงความตั้งใจที่จะฝึกฝนผู้เข้าร่วมให้เข้าใจในงานกระบวนกร และสร้างกระบวนการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์และการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ข้อสังเกต บทเรียน และ การประยุกต์ กิจกรรมที่ชื่นชอบมากที่สุดคงเป็นในส่วนของกิจกรรมกล้องถ่ายรูป แม้จะเป็นกิจกรรมเพียงสร้างความคุ้นเคยและยังไม่ได้สรุปมาก แต่สัญญาณร่างกาย ณ ขณะร่วมกิจกรรมให้ความรู้สึกของการปล่อยวาง การไว้วางใจ และที่รับรู้ได้ คือ ทุกครั้งที่เปิดตาจะเกิดความรู้สึก ละมุน wow! สัมผัสได้ถึงความใส่ใจในรายละเอียดของภาพที่เห็นมากขึ้น ทั้งๆที่ภาพเหล่านี้ก็เคยเห็นมาก่อนแล้ว นอกจากนี้ยังสัมผัสได้ถึงความใส่ใจในช่างภาพที่ตั้งใจสร้างภาพที่สวยงามให้กับผู้ชม การขมวดประเด็นที่ชื่นชอบจะเป็นเรื่องของการเขียนเพื่อทดสอบทิฐิปาทานในใจตนเอง สามารถมองเห็นว่าเรามีมากหรือ น้อย การสร้างหน้ากระดาษในส่วน “ฉันเคย ฉันมี และ ฉันเป็น” ที่ใหญ่จนแทบไม่เหลือพื้นที่รับความคิด “… Continue reading บันทึกกิจกรรมและความรู้สึกหลังการเรียน ## ปอง

“เพศฉันคือเธอ” คอลัมน์ ปัญญามีความรัก #๓

    เล็ก เธอเคยบอกว่าพ่อแม่กับตัวเธอเองนั้นมิอาจเข้าใจกันและกัน เพราะความต่างของเพศทำให้เป็นอุปสรรคขัดขวาง ฉันเองก็รับฟังเธอนะ คนที่อยู่ตรงหน้าฉันนี้หรือเบื้องหลังอักษร เพียงรู้ว่าเป็นเธอมิใช่กำหนดจำกัดด้วยเพศคำใด  เธอเคยบอกด้วยว่าในตัวฉันก็มีบางอย่างเหมือนแม่เธอด้วย และตนจะไม่ใส่ใจ ฉันก็ยอมรับสิ่งที่เธอกล่าวและการตัดสินใจนี้ แต่เล็กเอย พระองค์ท่านผู้เป็นเช่นนั้นมิเคยกล่าวเลยว่าเพราะเราเป็นหญิงชายผิดแผกจึงไม่สามารถเข้าใจกัน ท่านไม่ได้บอกเราให้มองใครคนหนึ่งเป็นหญิงหรือชายนะ แล้วเหตุใดที่คนเรามิอาจเข้าใจกันได้ และไยการเป็นเพศใดเพศหนึ่งจึงทำให้เธอและอีกหลายคนบนโลกนี้ทุกข์ใจนัก เพศ นั้นเป็นเพียงบทบาทสมมติหนึ่งนะคนดี เหมือนที่เราเคยเล่นสวมเป็นโจรบ้าง เป็นตำรวจบ้าง หรือเป็นเจ้าชาย เป็นเจ้าหญิงในวัยเยาว์ เราเพียงสวมบทนี้เพื่อทำหน้าที่ในแต่ละการเกิด เพศยังเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ หมื่นแสนการสมมติบทบาท นอกจากเพศแล้วก็ยังมีอาทิเช่น ตระกูลมีชื่อ ลูกคนนั้นคนนี้ เป็นคนถิ่นใดถิ่นหนึ่ง มีการศึกษา เป็นคนชั้นกลาง และอีกมากมายเลยนะเล็ก เราต่างเกิดมาเป็นเช่นพระองค์ท่าน คือเป็นผู้เช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง เป็นไปตามธรรมชาติ ธรรมดา แต่แล้วเจ้าสิ่งหนึ่งก็มาทำให้ใจเราพองฟู หรือเหี่ยวเฉาเกี่ยวกับสิ่งที่เราเป็น เล็กรู้ไหมสิ่งนั้นเรียกว่า มานะ เจ้าสิ่งนี้คือความถือคุณค่าและการเปรียบเทียบ เขาเหมือนดวงตามหึมาบนท้องฟ้าที่มืดดำของจิตใจ มีหลายดวงตาเลย ลองนับตามที่ฉันชี้นะ ๑ คือดวงตาที่ชอบกดข่มคนอื่น ๒ ชอบยกตัวเองให้สูง นี่กลุ่มดาวมหึมากลุ่มแรก  อีกหนึ่งมีดวงตามองว่าฉันดีกว่าเธอ มองว่าเราเท่าเทียมกัน หรือฉันแย่กว่าเธอ ดาวมานะยังมีอีกหลายรูปแบบเลย กลุ่มหนึ่งพวกเขามีอยู่… Continue reading “เพศฉันคือเธอ” คอลัมน์ ปัญญามีความรัก #๓