“ตามขุด” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๔

คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๔ ตอน “ตามขุด” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์   เมื่อมาถามตัวเองตอนนี่ว่าอะไรทำให้พวกเราในวัยนั้น เอาจริงเอาจังกับการตั้งกลุ่มยุวชนสยามโดยมีเพียงอุดมคติกว้างๆว่าจะทำประโยชน์ต่อส่วนรวม ยังไม่มีอุดมการณ์อะไรให้ยึดมั่นจริงจังนัก และหลายคนในหมู่พวกเราก็เป็นพวกเรียนดี เอาดีตามที่สังคมสมัยนั้นยกย่องได้สบายๆตามวิถีของตนๆ ผมเข้าใจว่ามีหลายเหตุปัจจัยยากที่จะหาข้อสรุปทั่วไปได้ แต่เท่าที่พอเห็นและสังเกตได้และมองย้อนหลังไปสี่ทศวรรษ ประการแรกน่าจะเกิดจากความแปลกแยกอันเนื่องมาจากการแก่งแย่งแข่งขันในหมู่นักเรียนเรียนดีประการหนึ่ง ประการที่สองน่าจะเป็นความมันอันเกิดจากการได้ทำกิจกรรมนอกหลักสูตร ประการสุดท้ายน่าจะเป็นเพราะเราเริ่มได้รับกระเส็นกระสายของวัฒนธรรมคนหนุ่มสาวหัวก้าวหน้าในมหาวิทยาลัยกลุ่มที่กล่าวมาแล้ว โดยเฉพาะจากประวัติของโกมล คีมทอง สี่ปีกว่าในสวนกุหลาบก่อนที่ชีฯจะมาชวนผมตั้งกลุ่มนั้น ผมรู้สึกได้ว่าการแข่งขันเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ และเพื่อนจริงๆน้อยลงไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะนับแต่เมื่อขึ้นชั้นม.ศ.๒ และผมเลื่อนจากห้องราชินีมาอยู่ห้องราชา สมัยนั้นสอบไล่ชั้นม.ศ.๕เป็นข้อสอบส่วนกลาง และมีการเทียบคะแนนทั่วประเทศ  โรงเรียนผมและโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจะผลัดกันได้ตำแหน่งที่หนึ่งประเทศไทยกันเป็นประจำ นอกจากนั้นนักเรียนที่ได้ตำแหน่ง ๕๐ คนแรก จะได้รับการจารึกชื่อไว้บนกระดานเกียรติยศของโรงเรียน เรียกว่าติดบอร์ด เมื่อมาอยู่ห้องราชา ที่มีอยู่ประมาณ ๓๐กว่าคน ตำแหน่งที่หนึ่งประเทศไทยก็ต้องถือว่าเป็นไปได้สำหรับทุกคน จำได้ว่าตอนอยู่ชั้นม.ศ.๓ ยังสนุก ตอนพอขึ้นถึงชั้นม.ศ. ๔ ผมก็ล้าเต็มที เพื่อนสนิทเหลือเพียงคนสองคน ทุกคนเอาแต่เรียน เวลาสอบบางคนถึงกับมือไม้สั่นเพราะความวิตกกังวล แม้ผมจะออกจากโรงเรียนมานาน แต่ยังฝันร้ายเรื่องสอบเสมอๆเป็นสิบปี  แต่ตอนนั้นความล้า… Continue reading “ตามขุด” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๔

“พลังแห่งจิต หนึ่งคิดลิขิตใจ” คอร์สสะกดจิตเพื่อการกุศล

คอร์สสะกดจิตเพื่อการกุศล เนื่องใน ๗ ปีสถาบันธรรมวรรณศิลป์ “พลังแห่งจิต หนึ่งคิดลิขิตใจ” การสะกดจิตไม่ใช่เรื่องพิเศษ เพียงเผยความพิเศษในจิตและกายเราทุกคน   เราจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ : พลังของการจินตภาพ ศิลปะกับการสะกดจิต ปัญญาในร่างกายผ่านหัวใจ การปรับพลังชีวิตด้วยจักระ ๗ และการสะกดจิตย้อนวัยและอดีตชาติ เพื่อนำศักยภาพแห่งจิต พัฒนาชีวิต ด้วยตัวเราเอง เพราะการสะกดจิตและพลังจิตมิใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องในจิตและกายทุกขณะลมหายใจ     วิธีการเรียนการสอน – แก่นแท้ของการสะกดจิตบำบัดและการใช้ศักยภาพแห่งจิต มีอยู่รอบๆ ตัวอย่างไร การอบรมจะอธิบายแก่นสารชนิดที่การอบรมสะกดจิตอาจไม่เคยอธิบาย – เรียนอย่างมีส่วนร่วม ได้ฝึกฝนปฏิบัติ และสะกดจิต/ส่งพลัง ดูแลกันและกัน – ใช้กระบวนการกลุ่มพูดคุยแลกเปลี่ยน ประกอบกับการบรรยาย และการสาธิต – ใช้กิจกรรมศิลปะเป็นส่วนช่วยเติมเต็มและเป็นเครื่องมือประกอบการสะกดจิตที่นำไปใช้ได้   กำหนดการการอบรม ดังนี้ วันเสาร์ที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๕๘ เริ่มลงทะเบียน ๘.๓๐ น. เริ่มต้นการอบรม ๙.๐๐ น. ถึง… Continue reading “พลังแห่งจิต หนึ่งคิดลิขิตใจ” คอร์สสะกดจิตเพื่อการกุศล

“มองเปลี่ยนมุม” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕

    “มองเปลี่ยนมุม” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕  โดย น้องเล็ก   “อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่ยอมรับมัน ตามความคิดสติเราให้ทัน อยู่กับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่ฝัน แล้วทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด”*     ว่ากันว่าสมองของมนุษย์มีขีดจำกัดให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้เพียงด้านเดียว? ไม่จริงหรอก… คนเรามีดวงตาสองข้างซ้ายขวา ทำให้เกิดภาพในสมองได้หลากมิติมากขึ้น! นั่นก็จริงส่วนหนึ่ง แต่การมองเห็นในที่นี้หมายถึงการมองจากดวงตา ‘ภายใน’ ต่างหาก ด้วยความสามารถพื้นฐานของคน มักจะยึดติดกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งเสมอ การยึดติดก็เหมือนกับการทากาวตราช้างลงบนตัวเองแล้วไปติดหนึบกับ ‘ของสิ่งนั้น’ ทุกคนย่อมรู้ดีว่ากาวตราช้างนั้นช่างแสบร้อนเหลือหลาย! การที่คนยึดติดข้างใดข้างหนึ่งของ ‘ของสิ่งนั้น’ มากเกินไปก็เนื่องมาจากความไม่รู้และทิฏฐิดื้อรั้นไม่ยอมเปิดหูเปิดตาเปิดใจรับรู้รับฟังสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับทัศนคติของตัวเอง ‘สิ่งนี้’ แหละที่จะนำเขากลับเข้าสู่วังวนแห่ง วัฏจักรชีวิตต่อไปเรื่อยๆ เพราะที่แท้จริงแล้วทุกสิ่งไม่ได้มีด้านเดียวหรอก คนธรรมดาอาจจะอยากเห็นแค่ด้านเดียวเพราะเขาพอใจอยู่แค่นั้น แต่หากเขาปรารถนาที่จะเป็นบัณฑิต เขาจะต้องใช้น้ำล้างกาวนั่นเสียก่อน และต้องค่อยๆ แกะกาวออกมา และตัวเขาก็จะค่อยออกมาจากจุดที่เขายึดติดทีละนิดๆ หากว่าโลกใบเดิมของเราถูกตีกรอบเอาไว้ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าโลกนั้นมีกรอบ ถ้าหากเราไม่ได้ออกมาจากกรอบของโลก และเท้าของเราอยู่ติดกับพื้น…? การปรับเปลี่ยนมุมมองคือการปฏิวัติชีวิตของคนเราเลยก็ว่าได้ เขาจะมองเห็นด้านหนึ่งของโลกได้ก็ต่อเมื่อเขาลองหันมองดูรอบๆ ตัว ซ้าย ขวา หน้า หลัง…… Continue reading “มองเปลี่ยนมุม” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๕

ชีวิตบอกใบ้

  หายใจเข้า อ่านลมหายใจทุกขณะดังอ่านทุกวรรควลีของหนังสือสำคัญ หายใจออก ร่างกายยามหายใจ กำลังบอกใบ้อะไรเกี่ยวกับตัวเรา อ่านลมหายใจเรา หายใจตื้นเขิน ชีวิตเคร่งเครียดบีบคั้นเพราะสิ่งใด หายใจยาวจนหมดแรงใจ เก็บกลั้นสิ่งใดเหนื่อยอก หายใจเข้าแล้วอึดอัดหรือบีบเกร็ง อะไรหนอปิดกั้นชีวิตชีวา ทุกบรรทัดของหนังสือ บอกใบ้ความหมายมากมายกว่าที่อักษรปรากฏ เรื่องราวแห่งเลือดเนื้อดำรงซ่อนอยู่ ผู้รู้จักอ่านนัยยะระหว่างบรรทัด หรือระหว่างอักขระที่จารึก ย่อมหยั่งลึกความหมายของชีวิตมากกว่าภาพลักษณ์ที่ปรากฏเห็นชัดเจน หายใจเข้า ชีวิตบอกใบ้สิ่งสำคัญแก่เราเสมอ ผ่านเรื่องราวที่พบเจอ ผ่านเหตุการณ์และลางสัญลักษณ์ต่างๆ ระหว่างก้าวเดินของชีวิต เมื่อเรารู้อ่าน รู้สังเกต เราย่อมเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับเรา พระเจ้าไยจึงส่งสิ่งนั้นมาสู่ชีวิตของฉัน ธรรมชาติต้องการบอกอะไรจากเหตุการณ์นี้ หายใจออก เมื่อรู้อ่าน รู้สังเกต เราย่อมน้อมนำความหมายหรือข้อมูลนั้นมาใช้แก่ชีวิตเราได้ เพื่อป้องกัน เพื่อแก้ไข หรือเพื่อหาทางออก ความสัมพันธ์ที่แตกร้าวเพราะเราเงียบคำหรือหลบเลี่ยงการสื่อสาร อาจบอกเราว่าจำเป็นแล้วที่ต้องพูดสิ่งที่ควรพูด หรือต้องเผชิญกับถ้อยคำความจริงที่อาจไม่หวานหู เราอาจเลือกสื่อสารเพื่อเยียวยาความไม่เข้าใจได้ทันการณ์ แทนที่จะปล่อยให้เหตุการณ์ซ้ำร้ายลง หรือเกิดปัญหาเดิมกับบุคคลใหม่ ความเป็นตัวเรานั้นเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่กว้างใหญ่ เป็นดั่งตัวอักษรหนึ่งบนหน้ากระดาษ เป็นดั่งหนังสือเล่มหนึ่งท่ามกลางหอสมุด เรานั้นคือส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การกระทำของเราส่งผลต่อสิ่งต่างๆ ที่เชื่อมโยงผูกพันกับเรา ดั่งถ้อยคำหนึ่งทำให้ความหมายของทั้งบรรทัดแปรเปลี่ยน เมื่อเราเป็นเช่นถ้อยคำหนึ่ง นักเขียนย่อมต้องดูแลเรา เมื่อเรามีความหมายผิดเพี้ยน สื่อความไม่ชัดเจน หรือหลงประเด็น… Continue reading ชีวิตบอกใบ้

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๔

“กล้ารัก” ……ความรักก็เป็นอีกชื่อหนึ่งของอภัยทานนะน้อย เธอเคยได้ยินไหมว่า “ความรักที่แท้จริงคือสิ่งที่ละลายหัวใจน้ำแข็ง กำแพงแห่งความกลัว” เมื่อน้อยรักสิ่งใด น้อยจะไม่มีความระแวงสิ่งนั้นเลย… “มองเปลี่ยนมุม” ……เพราะที่แท้จริงแล้วทุกสิ่งไม่ได้มีด้านเดียวหรอก คนธรรมดาอาจจะอยากเห็นแค่ด้านเดียวเพราะเขาพอใจอยู่แค่นั้น แต่หากเขาปรารถนาที่จะเป็นบัณฑิต เขาจะต้องใช้น้ำล้างกาวนั่นเสียก่อน… “ภาพที่พาฉันกลับบ้าน” ……ฉันเคยหลงใหล ด้วยใจไขว่คว้า ดิ้นรนโหยหา เหว่ว้าความคิดคำนึง ฝันใฝ่ถึงรัก อ้อมกอดเยียวยา…       อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๔ ณ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ 
แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ 
อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน   ดาวน์โหลดได้ที่ อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๔ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/11/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๔.pdf     คอลัมน์ประจำฉบับ ความหลังครั้งยุวชนสยาม ตอนที่ ๑ จุดเริ่มต้น คอลัมน์ กรุณามีแสงนำ ตอน กล้ารัก คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก ตอน มองเปลี่ยนมุม คอลัมน์กวี สัมผัสใน… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๔

อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๓

“บทเรียนราคาแพง” ……มือที่เอื้อมมาสัมผัสมือฉันเบาๆสิ่งที่ฉันพยายามหาเหตุผลจากมือคู่นั้นมันเป็นเพียงสัมผัสอุ่นๆที่เต็มไปด้วยใจความขุ่นมัวในใจของฉัน แม้ว่ามือคู่นี้จะมาพร้อมกับคำว่า “เหนื่อยไหมวันนี้”… “อิสระแห่งการยอมรับ” ……เรามักมองว่า ความเป็นอิสระ หรือ การมีอิสระ คือการทะลุออกนอกกรอบ คือการแหกคอกหรือแหกกฎเงื่อนไข หรือคือการโบยบินไปแสนไกลจากที่ที่อยู่ ณ ตอนนี้… “หลากรสในหนึ่ง” ……สิ่งที่น่าตลกก็คือ ไม่ว่าทุกอย่างจะเละเทะ ขาดๆ เกินๆ บ้าง ตั้งไฟแรงเกินบ้าง ใช้เวลานานเกินไปบ้าง บทสรุปของชีวิตคือการยอมรับ…   อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับที่ ๑๓ ณ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ 
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ 
อนุสารรายครึ่งเดือน คืนเดือนเพ็ญและคืนเดือนมืด อ่านเพื่อประจักษ์ชีวิต ลิขิตเพื่อใคร่ครวญตน ดาวโหลดได้ที่ อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๓ https://www.dhammaliterary.org/wp-content/uploads/2015/10/อนุสารธรรมวรรณศิลป์๑๓.pdf     ลำดับบทความในอนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๓ ๑. งานเขียนรางวัลธรรมวรรณศิลป์ เรื่อง บทเรียนราคาแพง ๒. คอลัมน์ ลมหายใจจับปากกา ตอน อิสระแห่งการยอมรับ… Continue reading อนุสารธรรมวรรณศิลป์ ฉบับ ๑๓

“หลากรสในหนึ่ง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๔

    “หลากรสในหนึ่ง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๔  โดย น้องเล็ก   ชีวิตก็เป็นเช่นนี้ล่ะ! หลากหลายรสชาติที่ต่างกันรวมกันอยู่ในชีวิตของคนเรานี่แหละ! แต่ไม่ว่ารสชาตินั้นจะแตกต่างหลากหลายมากเท่าใด ก็ยังก่อเกิดส่วนผสมและสูตรที่ลงตัว ไม่ว่าระหว่างใช้ชีวิตจะยุ่งเหยิงสักเท่าไร ส่วนผสมทุกอย่างถูกใส่รวมกันหมด เขย่าแล้วเขย่าอีก คนแล้วคนอีก ใส่วัตถุดิบเพิ่ม ใส่เหตุการณ์ใหม่ลงไป เหยาะซอสเพิ่มความกลมกล่อม… สุดท้ายแล้วชีวิตของทุกคนต่างก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สวยงาม หอมหวาน รสชาติถูกใจผู้ปรุงและผู้ชิมเป็นอย่างยิ่ง! สิ่งที่น่าตลกก็คือ ไม่ว่าทุกอย่างจะเละเทะ ขาดๆ เกินๆ บ้าง ตั้งไฟแรงเกินบ้าง ใช้เวลานานเกินไปบ้าง บทสรุปของชีวิตคือการยอมรับ เข้าใจมัน ปล่อยวางบ้างก็ได้ และมีชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อรัก… ชีวิตอีกมาก ความรักก็เป็นเรื่องตลกแบบนี้เหมือนกันหรือเปล่า? เขาว่ากันว่า ความรักเป็นสิ่งที่ก่อเกิดทุกสรรพสิ่ง… และอีกร้อยพันนิยามสำหรับความรัก มนุษย์เราช่างสรรหาสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อแปลความรักให้เป็นรูปธรรมมากมายเหลือเกิน… ไม่ว่าจะเป็นตัวอักษร รูปภาพ ภาษากาย แม้กระทั่งคำว่า ‘ความรัก’ ยังไม่สามารถทำให้เราเข้าใจแม้เพียงเศษละอองทุลีของความรักอันยิ่งใหญ่ อันขบขันนี้ได้เลย ความแตกต่างหลากหลายของส่วนผสมชีวิตของ ‘เมนูชีวิต’ ยิ่งมากยิ่งอร่อยฉันใด ความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วยกันยิ่งต่างกันมากก็ย่อมมีประโยชน์มากฉันนั้น… เส้นทางชีวิตของคนเรา หากได้พบเจอผู้คนที่แตกต่างจากเราโดยสิ้นเชิง ย่อมเป็นโอกาสที่เราจะเรียนรู้อะไรได้อีกมากมายคล้ายๆ… Continue reading “หลากรสในหนึ่ง” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๔

อิสระแห่งการยอมรับ

  หายใจเข้า  รับรู้ดูแลลมหายใจเข้า เปิดรับและยอมรับ ทุกการหายใจที่เกิดขึ้น ณ ปลายจมูกและลึกลงในร่างกาย การหายใจคือการเปิดรับ การมีสติคือการยอมรับ ใส่ใจที่ลมหายใจเข้า ยอมรับอย่างผู้รู้ หายใจออก อำลาลมหายใจในร่างกาย ผ่อนออก เร็วหรือช้า รับรู้ดูแล หายใจออกคือปล่อยวาง สติคือการยอมรับ ใส่ใจที่ลมหายใจออก ยอมรับอย่างผู้วางลงแล้ว เมื่อเราจับปากกาเขียนอักษรถ้อยคำลง เรากำลังยอมรับความรู้สึกและความนึกคิดที่มีอยู่ในจิตใจ แผ่ลงวางเพื่อไตร่ตรอง เมื่อเราเจริญสติภาวนา จิตใจกำลังยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน เพื่อมีประสบการณ์และกำลังสำหรับการยอมรับทุกลมหายใจแห่งเหตุการณ์ชีวิต เรามักมองว่า ความเป็นอิสระ หรือ การมีอิสระ คือการทะลุออกนอกกรอบ คือการแหกคอกหรือแหกกฎเงื่อนไข หรือคือการโบยบินไปแสนไกลจากที่ที่อยู่ ณ ตอนนี้ เราอาจไม่พอใจกับสภาพแวดล้อมที่บ้าน ที่โรงเรียน หรือที่ทำงาน เราอาจรู้สึกว่าชีวิตตอนนี้จำกัดไม่ให้เราทำอะไรเพื่อตนเองบ้างเลย เราอาจรู้สึกว่าใครบางคนใกล้ตัวเอาแต่กดดันหรือบังคับตนให้ทำสิ่งต่างๆ ทั้งที่หัวใจปฏิเสธ  เราอาจใฝ่หวังช่วงเวลาที่หลุดพ้นจากสิ่งต่างๆ ที่จำกัดเราไว้แบบนี้ รอคอยหรือเฝ้าหาหนทางเป็นอิสระ เมื่อใจเราคิดยึดว่า อิสระคือการไปจากที่นี่ เป็นการทะลุกรอบ หรือเป็นการโบยบินไปไกลแสนไกล เราย่อมผูกยึดติดตนเองไว้กับความไม่พอใจ กับการปฏิเสธ กับการทุกข์ตรม หรือกับความอยากใคร่มี กลับกลายเป็นว่าอิสระที่เราเชื่อมั่นกลายเป็นเชือกผูกเราไว้และปิดบังตามืดมน… Continue reading อิสระแห่งการยอมรับ

“สร้างนาม” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๓

    คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๓ ตอน “สร้างนาม” เขียนโดย ประชา หุตานุวัตร เขียนเสร็จเมื่อปลายเหมันต์ ปี ๒๕๔๘ แก้เกลาใหม่ ตุลาคม ๒๕๕๘ กระท่อมน้อยในทุ่งฝัน ชุมชนฟินด์ฮอน สก๊อตแลนด์   การหาชื่อกลุ่มก็เป็นเรื่องที่พูดกันมาก คุยกันหลายรอบ จำได้ว่ามีเพื่อนชื่อสุชาย เป็นประธานชมรมพุทธศาสน์หรือภาษาไทย ผมจำไม่ได้แล้ว แต่ห้องชมรมติดกันกับชมรมภาษาอังกฤษที่ผมเป็นประธาน เป็นนักเรียนแผนกศิลป์ เป็นคนเรียบร้อย แบบมาตรฐาน คงอ่านหนังสือนอกห้องเรียนมากกว่าพวกเรา เขาเห็นมนัสกับผมครั่งท่านอาจารย์พุทธทาสและสวนโมกข์เขาก็เหล่ๆ อยู่ แต่เราก็ทำงานร่วมกัน เขามาช่วยงานภาษาอังกฤษที่เราจัดกับศึกษานารีด้วย ดูเหมือนจะขึ้นโต้วาทีด้วยกัน  เขามีพี่ชายอยู่มหาวิทยาลัย รุ่นไม่ห่างพวกเรา ทำให้สุชายรู้เรื่องกลุ่มเรื่องชมรมค่ายต่างๆในมหาวิทยาลัยบ้าง และดูเหมือนจะมีกลุ่มแบบไม่เป็นทางการอยู่ด้วย ชื่อกลุ่มยุวชนอาสา  พี่ชายเขาก็เคยมาประชุมกับพวกเรา อาจจะเป็นการประชุมครั้งแรกที่บ้านโตดังกล่าวมาแล้วด้วย ผมชอบชื่อนี้ ฟังเพราะดี แต่มีคนใช้เสียแล้ว ก็ต้องคิดกันใหม่ ตอนนั้นรัฐบาลกำลังโฆษณาต่อต้าน “ผู้ก่อการร้าย” อย่างมากมาย ชีฯเลยเสนอชื่อ “ผู้ก่อาการดี”  ผมก็ตรองเรื่องชื่อมาก จนเช้าวันหนึ่งขณะที่กำลังถอนขนไก่ช่วยงานที่บ้านก่อนออกมาโรงเรียน ชื่อสองชื่อผุดขึ้นมา ชื่อหนึ่งคือยุวชนสยาม อีกชื่อคือ ยุวสยามินทร์ แต่ตอนนั้นไม่แน่ใจว่าชื่อหลังหมายถึงอะไรกันแน่… Continue reading “สร้างนาม” คอลัมน์ ความหลังครั้งยุวชนสยาม #๓

“รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓

    “รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓  โดย น้องเล็ก     “ต่างกันแค่ไหน แต่ถ้าขาดกันไป คงจะไม่ไหว ไปไม่รอดสักอัน มาเป็นคู่ช่วยกันอยู่ทุกที ถึงต่างกันอย่างนี้ก็เป็นคู่กัน” *   ความรักคืออะไร? What is love? ฉันนึกถึงคำถามนี้ขึ้นมา เมื่อรู้สึกว่า สิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตได้โบยบินจากไปแล้ว… แนวทางชีวิตของแต่ละคนแตกต่างกันไป หากเมื่อมีชะตาที่จะต้องเดินทางร่วมกันและได้ใช้เวลาด้วยกันอย่างมีคุณค่า ด้วยความรัก การสังเกตเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน จะได้พบเจอประสบการณ์ใหม่ๆ ด้วยกัน และแบ่งปันเรื่องราวเก่าๆ ให้แต่ละคนได้รับรู้ เวลาที่มีคุณค่ามากมาย ช่วงเวลาเหล่านี้คงเป็นความทรงจำที่ดี ตราตรึงอยู่ในหัวใจตลอด… ทว่าหากตลอดเวลาที่ใช้อยู่ด้วยกันกลับมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยึดมั่นถือมั่นในอีกฝ่ายมากเกินไป หรือกลับดูถูกเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งไม่ว่าเหตุผลอะไรก็ตาม ผลลัพธ์ของช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันจะถูกตีค่าออกมาเป็นความเจ็บปวด พร้อมๆ กับบาดแผลเรื้อรังที่จะคอยกัดกินใจ และทำลายจิต กลายเป็นระเบิดเวลาที่ตัวเลขลดน้อยลงเรื่อยๆ เพื่อรอวันที่ความอึดอัดจะระเบิดออกมา และสาเหตุที่น่าเจ็บปวดที่สุดในการที่จะก่อระเบิดเวลานี้ก็คือ ‘ความไม่เข้าใจกัน’ ‘การไม่ลงรอยกัน’ เป็นปัญหาใหญ่ระดับจักรวาลเลยก็ว่าได้ อันเนื่องมาจาก ‘ความไม่สมดุล’ ความไม่สมดุลนี้แหละที่เป็นตัวการในการก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภาพใต้ท้องฟ้ากว้างใหญ่ ท่ามกลางหุบเขาสายรุ้ง และระหว่างดวงดาวน้อยใหญ่ทั่วทั้งเอกภพ ดาราจักร… Continue reading “รักลงรอย” คอลัมน์ บันทึกเล็กเล็ก #๓