บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๙)

        บทเรียน “เขียนค้นตน” หลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๗ ประจำเดือน มกราคม ๒๕๖๐ (รอบสอง) จากคุณอรนุช (น้อง) พนักงานบริษัทเอกชน . www.dhammaliterary.org    

๔ ข้อคิด “ทำใจ” จากเมฆ (ตอนแรก)

    ๔ ข้อคิด “ทำใจ” จากเมฆ (ตอนแรก) เวลาหัวใจเราถูกรบกวนจากความเศร้า ความเครียด และอารมณ์ลบต่างๆ การทำใจตนเองก็เป็นทางออกหนึ่งที่สำคัญ เพราะหลายสิ่ง “ภายนอก” เราไม่อาจลิขิตหรือเลือกไม่ให้เกิดไม่ได้ ใจเขาใจเรา ต่างมีหน้าต้องดูแลของตนเอง วิธีที่จะ “ทำใจ” ของแต่ละคนก็สุดแท้แตกต่างกันไปตามนิสัยใจคอและการเรียนรู้ บางคนทำใจกับความเศร้าได้ไว บางคนอาจนานเสียหน่อย แต่สิ่งที่ดีที่ช่วยให้เราทำใจให้ปลดปล่อยจากทุกข์ได้นั้นมีอยู่ในตัวเราและรอบตัวมากมาย . บทความนี้ขอยกตัวอย่างข้อคิด จากเมฆและท้องฟ้า เพื่อบอกแก่หัวใจเรา หรือใครก็ตามที่เราอยากช่วยเขา “ทำใจ” . ๑ หัวใจที่หม่นหมองเป็นเพียงสิ่งชั่วคราว ความเสียใจไม่ใช่สิ่งที่แน่นอน อารมณ์เหมือนเมฆที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง : ท้องฟ้าเป็นเหมือนภาพยนต์เรื่องยาวที่ฉายเรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกคืนวัน ตอนนี้เราเห็นเมฆเป็นแบบนั้น ท้องฟ้าสดใสหรือหมองหม่นแบบนี้ อีกชั่วโมงหนึ่งหรือวันต่อไป เมฆและฟ้าก็แปรเปลี่ยนไปแล้ว . หัวใจคนก็เป็นดั่งท้องฟ้านี่เอง เมฆก็คืออารมณ์มากมาย แวะเวียนมาและพร้อมจากไป ก่อนหน้าที่เราจะเครียด เราอาจกำลังหัวเราะอยู่ ก่อนหน้าน้ำตารินไหล ตอนนั้นเราอาจกำลังชื่นชมยินดีกับสิ่งที่ได้เจอ แต่เวลาเราเศร้าใจหรือเครียดทุกข์หนัก เราอาจเผลอคิดไปว่าท้องฟ้าของจิตใจเราจะคงที่อยู่อย่างนั้น จะมืดหมองอย่างนั้นตลอดไป . ในความจริงแล้ว ไม่มีท้องฟ้า ก้อนเมฆ และหัวใจใครที่จะคงที่อย่างนั้นตลอดกาล… Continue reading ๔ ข้อคิด “ทำใจ” จากเมฆ (ตอนแรก)

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๘)

      “ทบทวนประสบการณ์ค้นตน หลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๗ การเรียนเขียนค้นตนนี้ทำให้รู้สึกประหนึ่งว่ากำลังฝึกตนอยู่บนยอดเขาบู๊ตึ๊ง แต่ละขั้นบันไดที่ก้าวแต่ละก้าวมีแต่สูงชัน ถูกเคี่ยวกรำ และเหน็ดเหนื่อยขึ้นเรื่อยๆ . ด้วยการใช้ชีวิตที่ถูกหล่อหลอมให้เปรียบเทียบกับคนอื่นอยู่ตลอดเวลา เมื่อเขียนบันทึกเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ เราจึงนึกได้น้อยมาก ยึดติดในผลงานที่ต้องดี สำเร็จ เป็นงานของส่วนรวม ต้องดูยิ่งใหญ่ราวกับกำลังเขียนใบสมัครงานให้นายจ้างมองว่าเรามีคุณสมบัติดีและพิเศษกว่าคนอื่น . เราลืมนึกถึงเรื่องราวเล็กๆ น้อยๆ ที่เคยริเริ่มภูมิใจ แม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องที่คนอื่นเคยทำมาก่อนก็ตาม พอครูแนะให้นึกถึงตรงนี้ สิ่งละอันพันละน้อยผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด ได้หวนระลึกนึกถึงความสนุกในการลงมือทำบางอย่างโดยไม่สนใจผลลัพธ์มากกว่า ๓๐ เรื่อง . ส่วนใหญ่คนภายนอกมักมองตัวเราว่าเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเอง แต่เนื้อแท้ตัวเรากลับไม่มีความมั่นใจอะไรเลย ไม่ชื่นชมตัวเอง เชื่อว่าตนเองเป็นคนไม่มีศักยภาพ ไม่มีความถนัด หรือความสามารถพิเศษอะไร การได้ระลึกถึงเรื่องราวที่ตนได้ริเริ่มบางอย่างแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยในอดีต จึงช่วยเพิ่มความภูมิใจในตนเองได้ส่วนหนึ่ง . และแล้วกิจกรรมไพ่ปลุกตัวตน ก็ปลุกตัวเราสมกับชื่อกิจกรรมนั้น กิจกรรม “ฉันคือผู้เวียนว่ายฯ” เป็นปฐมบทของการริเริ่มสร้างสรรค์ของตัวเองเกิดขึ้นจากเสียงภายในที่พยายามส่งสัญญาณบอกใบ้แก่เราให้หาสิ่งใหม่ๆ มองเห็นศักยภาพที่มี และเริ่มต้นทำในทันทีอย่างเป็นอิสระ . หลังจากเขียน “กวีร้อยแก้ว” (ตามที่ครูเรียก) ครูก็แนะว่าให้วาดภาพประกอบด้วย โดยส่วนตัวเป็นคนที่กลัวการวาดรูปมาแต่ไหน แค่ให้หยิบสีมาระบายก็เครียดจนแทบอยากร้องไห้ ต่อรองแกมหยอกครูเล่นว่า… Continue reading บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๘)

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๗)

    “ก่อนจะสรุป ต้องขอขอบคุณคุณครูและสถาบันฯ ไว้ ณ บรรทัดนี้ ที่เปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนค่ะ . ความจริง ตอนที่น้องสาวชักชวนให้สมัคร ตอนนั้นอ่านรายละเอียดของสถาบันฯ เพียงย่อๆ ผ่านๆ เข้าใจเอาเองว่า เป็นการฝึกเขียนบทความ เขียนเรื่องราว เขียนเรื่องเล่าที่เราอยากจะเล่า อยากจะโพสต์ อยากจะบันทึก เหมือนกับ ว่าเรียน เพื่อปรับปรุงการเขียนของเรา เรียนเพื่อรู้เรื่องเทคนิคการเขียนให้เป็นเนื้อหา บทความที่ชวนอ่าน ชวนติดตาม อะไร ทำนองนี้ ไม่คิดมาก่อนว่า คือการเขียนเพื่อรู้จักตนเอง โดยผ่านกระบวนการของทางคุณครู ผู้ควบคุม พอเริ่มเรียนสัปดาห์แรก เอ๊ะ ชักยังไง แปลกใจว่านี่เรากำลังเรียนอะไร โอ้ววว… พออ่านรายละเอียดและขั้นตอนการ เรียนรู้แต่ละส่วน ตามลำดับแล้ว ที่เราเข้าใจมานั้นไม่ใช่เสียแล้ว นั่นสิ แล้วเราจะได้อะไรจากการใช้เวลาเรียนครั้งนี้ . ย่อหน้าที่ 2 ข้างต้น นั้นคือสิ่งที่คิดและรวบรวมไว้ก่อนเริ่มเรียนกับคุณครู บรรทัดข้างล่างนี้คือสิ่งที่คิดและได้จากการ จากการเรียนครั้งนี้ คือ 1. ได้รู้จักกระบวนการ ที่จะทำความรู้จักตนเองในด้านอื่นๆ ด้วย… Continue reading บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๗)

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๖)

    “ก่อนอื่นต้องขอแสดงความขอบคุณครูมากค่ะที่ได้แนะนำดิฉัน และะทำให้ดิฉันพาใจกลับบ้านหลังจากที่หลงทางมานาน จากที่ได้เลือกเหตุการณ์ประหลาดใจ บันทึกและสะท้อน ทบทวน สิ่งที่ได้รับและรู้คือใจของดิฉันรู้สึกมีพลัง . “นิทาน”เป็นอีกบันทึกหนึ่งที่รับรู้ของการพัฒนาความรู้สึกในทางบวก เพิ่มขึ้น ได้เขียนนิทานที่ไม่มีพล็อตเรื่องแต่ความรู้สึกที่ส่งไปปลายปากกามันต่อเนื่อง ชัดเจนและมั่นคงในช่วงระหว่างเขียน เมื่อเขียนเสร็จตามกรอบเวลา10 นาที อ่านซ้ำหลังจากบันทึกตัวละครเอกตัวนี้ คือเราในวันนั้น!! สะท้อนถึงความมุ่งมั่น อดทนสร้างปราสาททราย เมื่อวันหนึ่งสิ่งที่สร้างมาด้วยพลังทั้งหมดได้พังลง หนูน้อยได้เรียนรู้การน้อมรับ การให้อภัย . ดิฉันได้ทบทวนสิ่งที่ผ่านมา ตอนนี้เข้าใจแล้วว่าทุกสรรพสิ่งมีการ เปลี่ยนแปลงตามเหตุตามปัจจัย ในฐานะเราซึ่งเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ควรเลือกเรียนรู้ เลือกเข้าใจและเลือกพัฒนาให้สมกับคุณค่าของมนุษย์ . ด้วยความเคารพค่ะ” สิริญ(หนูเล็ก) #เขียนเปลี่ยนชีวิต หัวข้อ “เขียนค้นตน” รอบสอง รุ่น 17 . www.dhammaliterary.org  

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๕)

    บทเรียน เขียนค้นตน กึ่งออนไลน์ (มกราคม รุ่นที่ ๑๗) #เขียนเปลี่ยนชีวิต * * * “บันทึกสะท้อนตนเองจากการเรียนเขียน เริ่มต้นเรียนไม่ได้คาดหวังอะไรค่ะ แค่อยากรู้ว่าเขียนค้นตนเป็นอย่างไร เมื่อเริ่มเขียน ยังไม่เข้าใจ ก็ยังอยู่ในกรอบความคิดและติดในรูปแบบงานเขียนมากกว่า คุณบรรทัดฐานมาทำงานเนียนๆ ^_^ เมื่อครูเริ่มสะท้อนจากสิ่งที่แฝงในการเขียน และคุณองอาจตื่นขึ้น ก็เริ่มเขียนโดยไม่ติดในรูปแบบ การใช้คำ งานเขียนก็เริ่มง่ายและชัดเจนมากขึ้น เป็นการย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ที่ผ่านมา ด้วยความเข้าใจกับทุกตัวละครมากขึ้น แม้จะยังไม่ครบทุกมิติ มีบทเรียนและการสะท้อนของครูที่ทำให้เห็นแนวทางที่จะเดินต่อไป . ขอบคุณค่ะกับประสบการณ์การเขียนและการรับฟังการสะท้อน การเรียนรู้เกิดขึ้นได้เกิดจากศรัทธาที่เพิ่มขึ้นต่อครูและต่อตนเอง และได้เห็นตัวตนต่างๆที่ตนเองมีอยู่ ตัวตนต่างๆคือครูในความคิด พอเราคิดแบบนี้เราก็ทำแบบนี้ พอเราคิดอีกแบบเราก็ทำแตกต่างไป จนกว่าเราจะเข้าใจว่าความจริงของความคิดนั้นมันก็แค่ผ่านไป” . คุณจิ๋ว ฐิตารีย์ อาชีพแม่บ้าน www.dhammaliterary.org    

“ท่านทั้งหลายไม่เข้าถึงพุทธธรรม ก็เพราะว่า “พระพุทธเจ้าตามทัศนะของท่าน” ขวางท่านอยู่”

    “ท่านทั้งหลายไม่เข้าถึงพุทธธรรม ก็เพราะว่า “พระพุทธเจ้าตามทัศนะของท่าน” ขวางท่านอยู่”     มีปริศนาธรรมข้อหนึ่งกล่าวว่า หากพบพระพุทธเจ้าระหว่างทางนั้นจะทำเช่นไร คำตอบคือ จงฆ่าพระพุทธเจ้าเสีย . กล่าวมาอย่างนี้ หากเผลอตัดสินโดยไม่ได้ยั้งคิดด้วยสติปัญญาก่อนแล้ว เราอาจมองว่านี่เป็นการยั่วยุให้ทำร้ายพระสงฆ์องค์เจ้าใช่ไหม หรือหากคิดปรุงแต่งเกินเลยไปอีกอาจไพล่เห็นว่านี่ต้องเป็นทัศนคติคนศาสนาอื่นต้องการบ่อนทำลายศาสนาพุทธเป็นแน่ หากแต่ตามจริงแล้ว นี่ปริศนาธรรมในศาสนาพุทธนี้เอง ซึ่งมุ่งตรงไปสู่คำถามสำคัญที่ว่า นิพพานเป็นอัตตาหรืออนัตตากันแน่ . แล้วที่ผ่านมาก็มีเพียงคนศาสนาเดียวที่บ่อนทำลายศาสนาพุทธ ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว นั่นคือพุทธศาสนิกชนและพระสงฆ์องค์เจ้าเอง ที่ยึดเอาศาสนาพุทธไปผิดทางและสอนธรรมะไปผิดทิศ นั่นแล . คำกล่าวของปริศนาธรรมข้างต้น ไม่ได้หมายถึงให้เราประทุษร้ายพระพุทธเจ้าหรือสงฆ์องค์ไหน แม้จะเป็นสงฆ์แท้หรือเทียมก็ตาม หากแต่หมายถึง ขจัด “พระพุทธเจ้าตามทัศนะของท่าน” ออกไปเสียให้พ้นทาง เพราะนี่คือเหตุหนึ่งที่ทำให้เราทั้งหลาย ไม่เข้าถึงพุทธธรรม คือไม่เข้าใจหลักธรรมตามที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ หรือปฏิบัติเท่าใดก็ไม่อาจพ้นทุกข์ . กล่าวให้ชัดเจนขึ้นคือ การยึดมั่นใน “พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์” อย่างสำคัญมั่นหมายเป็นตัวเป็นตนนั่น คือภูเขาลูกใหญ่ที่บดบังเราจากพุทธธรรมไว้ ทึกทักไปเองว่านั่นคือ “พระพุทธเจ้าของกู พระพุทธแบบที่กูเชื่อ พระธรรมที่กูศรัทธา พระสงฆ์ของกู ศีลที่กูสะอาด อาจารย์ที่กูเคารพ ศาสนาของกู”… Continue reading “ท่านทั้งหลายไม่เข้าถึงพุทธธรรม ก็เพราะว่า “พระพุทธเจ้าตามทัศนะของท่าน” ขวางท่านอยู่”

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (workshop รอบสอง)

      บันทึกบทเรียนจากการเข้าอบรมหัวข้อ “เขียนค้นตน” ในหลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๗ ประเภท workshop   ตามไฟล์ภาพ ดังนี้ และอ่านเพิ่มเติมได้ที่อัลบั้มรูป        

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๔)

        บทเรียน เขียนค้นตน #เขียนเปลี่ยนชีวิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๑๖ (มกราคม ๒๕๖๐ รอบแรก) หัวข้อบันทึก “ดูแลตัวตนที่เปราะบาง” และ ไพ่ปลุกตัวตน “นักเรียนรู้” โดย คุณหน่อย อรอนงค์ อาชีพ พนักงานมหาวิทยาลัย www.dhammaliterary.org  

บทเรียน เขียนค้นตน ๒๕๖๐ (๓)

    บทเรียน เขียนค้นตน หลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ ๑๖ “ขอบคุณมากนะคะการเขียนลงลึกไปในรายละเอียดทำให้มองกระจกแล้วสะท้อนใจ ผ่านการคิดการตีความอยู่ภายในมาเป็นการเขียน ซึ่งมันทำให้เรามีสติ อยู่กับปัจจุบันในขณะที่เราเขียนรู้สึกถึงการใช้สมาธิ เหมือนการนั่งวิปัสสนาต่างกันตรงที่การนั่งวิปัสสนาเรากำหนดสติตามลมหายใจ แต่การเขียนเราต้องมีสติตามการที่เราเขียน อยู่กับปัจจุบัน เป็นคนชอบเขียน แต่ไม่เคยเขียนแบบนี้มาก่อนเคยเขียนแต่ไดอารี่ เขียนสิ่งที่เราทำในแต่ละวัน ไม่เคยเขียนเป็นเรื่องๆ ถามตัวเองแบบนี้มาก่อน ขอบคุณนะคะที่ทำให้เห็นในสิ่งที่ไม่เคยรู้และทำมาก่อน ได้มองเห็นตัวเองโดยผ่านตัวเอง ” คุณติ๊ก ฉัตรทิดา อาชีพรับจ้าง www.dhammaliterary.org