ความรับผิดชอบตัวเองที่พอดี

 

 

“ความรับผิดชอบตัวเองมีทั้งลักษณะที่พอดีและไม่พอดี ซึ่งไม่พอดีได้แก่ น้อยเกินไป เช่น บอกปัดความรับผิดชอบ โทษคนอื่นมาก ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่สามารถดูแลตัวเองและความรับผิดชอบได้ หรือลักษณะที่มากเกินไป เช่น การหักโหมจนส่งผลเสีย การโทษตัวเองมาก การตอกย้ำข้อผิดพลาดและแง่ลบบ่อยๆ หรือเอาความรับผิดชอบของผู้อื่นมาเป็นของตนเองโดยไม่จำเป็น

“ความรับผิดชอบตัวเองที่พอดี อยู่ตรงกลางระหว่างการไม่โทษตัวเองเกินไป และไม่โทษคนอื่นมากเกินไป ทำตามหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเคารพตนเอง คนอื่นๆ และเงื่อนไขกติกาอย่างมีเหตุผล รวมทั้งการตระหนักว่าการเลือกของเรานั้นมีความสำคัญอย่างไร ความรับผิดชอบตัวเองที่เหมาะสมคือเกณฑ์ชี้วัดข้อหนึ่งที่บ่งบอกว่าเรามีสุขภาพจิตและสุขภาพในการใช้ชีวิตที่ดีหรือไม่ หากมีน้อยไปหรือมากเกินไปก็สะท้อนการใช้ชีวิตที่ขาดประสิทธิภาพและความสมดุล อาจสะท้อนได้ถึงกระบวนการความคิดและจิตใจที่มีปัญหา หรืออาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้ในอนาคต

“ความรับผิดชอบเป็นทักษะที่ทุกๆ คนสามารถฝึกได้ เหมือนการขี่จักรยาน แม้เคยหกล้มผิดพลาดก็ลุกขึ้นมาฝึกฝนใหม่ได้ การที่เราปฏิเสธการฝึกฝนนี้เองที่อาจบ่งบอกถึงความกลัวที่มีอยู่ในจิตใจเรา อาจเป็นความกลัวล้มเหลว หรือกลัวทำได้ไม่ดีพอ อย่าให้ความกลัวนั้นครอบงำเรา จนหลงลืมไปว่าเราสามารถพัฒนาการดูแลตัวเองและคนรอบข้างได้ เพียงแค่เราได้ลงมือทำมากเพียงพอ”

 

จากบทที่ 5 : จัดการตัวเองเป็น ในหนังสือ กึ่งคอร์สออนไลน์ “เขียนพิชิตความสำเร็จ”

โดยโครงการ Punn Space Plus จำหน่ายในราคา 222 บาท

 

อ่านรายละเอียดได้ที่
https://punnspace.com/p/wrtiingforsuccess/