เด็กน้อยภายใน : Recovery Of Your Inner Child

“เด็กน้อยภายใน” :

Recovery of your inner child

การเขียนบำบัดเพื่อปลดล็อกเด็กน้อยในตัวเรา

 

บ่มเพาะความรักในหัวใจตนเอง ด้วยการเข้าถึงเด็กน้อยภายในและเติบโตจากปมในอดีต ผ่านกิจกรรมดีต่อใจ 2 วันเต็ม

ในชุดหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต รุ่นที่ 55

ณ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ คลองสี่ ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

เด็กน้อยภายใน คืออะไร

 

🐣 คือกระบวนการเยียวยาและการเปลี่ยนแปลงอิทธิพลเชิงลบต่อ “จากเหตุการณ์และความรู้สึกในวัยเด็ก” โดยให้ไถ่ถอนความรู้สึกที่ค้างคาด้วยการรับฟังอย่างลึกซึ้ง และเปลี่ยนแปลงกรอบทัศนะใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและเห็นคุณค่าในตนเอง ผ่านเครื่องมือการเขียนบำบัด และกิจกรรมในการอบรมที่เน้นได้ทบทวนชีวิตและฟังเสียงหัวใจ

 

🙈 คือการน้อมนำ “คุณสมบัติของการเป็นเด็ก” มาใช้ในปัจจุบัน เพื่อเติมเต็ม สิ่งที่ตัวเราตอนเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้อาจหลงลืมไป คุณสมบัติของเด็กน้อยภายใน เป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์ที่มีติดตัวทุกคนมาตั้งแต่เกิด แต่เมื่อไม่ได้น้อมนำมาใช้อย่างพอดีและบ่มเพาะให้เติบโตแล้ว ก็จะเป็นผลทำให้การใช้ชีวิตขาดมิติและความสมดุล หรือทำให้การเสพติดเพื่อชดเชยความรู้สึกขาดแคลน

 

🧚🏻‍♀️ คือการเปลี่ยนท่าทีที่เรามีต่อตัวเราเองในด้านต่างๆ หรือเรียกว่า “ความสัมพันธ์ต่อตัวเอง” ซึ่งได้รับอิทธิพลจากความสัมพันธ์ของผู้ปกครองในวัยเด็ก และมุมมองที่มีต่อตัวเองจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นช่วงวัยเด็ก เพื่อปลดปล่อยตนจากข้อจำกัดที่เราแบกรับไว้อยู่ภายในจิตใต้สำนึก แล้วใช้ชีวิตในปัจจุบันขณะได้อย่างเต็มเปี่ยม และเป็นอิสระ 

เรียนแล้วได้อะไร

 

  • เทคนิควิธีการเขียนบำบัด เพื่อดูแลเด็กน้อยภายใน สื่อสารกับจิตใต้สำนึก และทบทวนชีวิตด้วยใจ
  • เพิ่มความสุขและความพึงพอใจในตัวเอง ด้วยการปลดล็อกอิทธิพลจากความทุกข์และเหตุการณ์ในวัยเด็ก
  • นำคุณสมบัติที่สร้างสรรค์จากความเป็นเด็กในตัวเองออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์
  • เข้าใจความรู้สึกและความต้องการที่มีที่ซ่อนอยู่ข้างใน เมตตาและรักตัวเองมากขึ้น

* ผู้ผ่านการอบรมครบสองวันจะได้รับ คู่มือเด็กน้อยภายใน (ออนไลน์ในเว็บไซต์) พร้อมเนื้อหาเพิ่มเติม เพื่อการทบทวนและดูแลตัวเองอย่างต่อเนื่อง

เวลาอบรมและสถานที่

 

วันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.30 น. – 16.30 น.

 

ณ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ หมู่บ้านอยู่เจริญ 3 คลองสี่

อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

 

แผนที่ : https://goo.gl/maps/yRhQMPmr1nGSnJvB8

(ระยะทาง 10 กิโลเมตร จากสถานี BTS คูคต / 13 กิโลเมตร จากสถานี BTS รังสิต)

ค่าลงทะเบียน

 

บริจาคตามกำลังทรัพย์ก่อนเริ่มเรียน

 

เดิมหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต มีค่าลงทะเบียน จำนวน 1,900 บาท ต่อหัวข้ออบรม โดยได้ปรับเปลี่ยนเป็นบริจาคตามกำลังทรัพย์ เพื่อเอื้อโอกาสให้ผู้เรียนที่มีรายได้น้อย มีโอกาสในการเรียนรู้เพื่อฝึกฝนตนเองเช่นเดียวกัน

 

ค่าลงทะเบียนในการอบรมรอบนี้ เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าวิทยากรแล้ว นำไปใช้ในโครงการเพื่อการกุศลของเรา โดยสถาบันธรรมวรรณศิลป์เป็นองค์กรที่ดำเนินงานโดยใช้รายได้จากการจัดกิจกรรมเกือบทั้งหมด โดยไม่พึ่งพาสปอนเซอร์เป็นหลัก

 

อ่านรายละเอียด กิจกรรมโครงการเพื่อการกุศล ได้ที่

www.dhammaliterary.org/โครงการเพื่อการกุศล/

สมัครเข้าเรียน

 

กรอกใบสมัครด้วยการคลิกปุ่มด้านล่างนี้ โดยผู้สมัครจะต้องชำระค่าลงทะเบียนตามบริจาคก่อนเพื่อเป็นการยืนยันการเข้าเรียน

 

📝  ชุดหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต

 

ประกอบด้วย 4 หัวข้อ สามารถเลือกเข้าหลักสูตรใดก่อนก็ได้ ผู้ที่เคยเข้าอบรมในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง การอบรมในหัวข้ออื่นต่อก็จะเป็นต่อยอดกระบวนการเรียนรู้จากเดิม 

 

 

นอกจากนี้แล้วก็ยังมีหัวข้ออบรมอื่นที่จัดตามโอกาสพิเศษ อาทิ “เขียน.ปล่อย.วาง” , “โอบกอดด้านมืดแห่งตัวตน” และการเขียนที่เน้นการฝึกเจริญสติ คือโครงการ “เขียนภาวนา”

การอบรมหลักสูตร เขียนเปลี่ยนชีวิต ยังได้จัดกิจกรรมเชิงการศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ต้องขังเรือนจำหญิง สามารถอ่านได้ที่เว็บไซต์รายละเอียดโครงการผู้ต้องขังเรือนจำ

ตัวอย่างบทเรียนและการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียน

 

“การได้กลับมาหาเด็กน้อยภายในทำให้เราเห็นค่ะว่า เด็กน้อยคนนั้นเก่งแค่ไหน เด็กน้อยคนนั้นอดทนแค่ไหน เด็กน้อยคนนั้นสดใสแค่ไหน เด็กน้อยคนนั้นมีพลังมากมายแค่ไหน และเด็กน้อยคนนั้นยังอยู่ในตัวเรานี้เอง ไม่เคยไปไหน แค่รอเรากลับมาหา กลับมาพาเค้ามากับเราด้วย เด็กน้อยคนนั้นทำให้กลับมารัก กลับมาเห็นคุณค่าในตัวเอง กลับมากล้าที่จะปฏิเสธมากขึ้นเพราะไม่ต้องกลัวว่าใครจะไม่ยอมรับ กลับมายอมรับตัวเองแบบที่ตัวเองเป็น แบบที่เด็กน้อยคนนั้นเคยเป็นค่ะ

 

คุณนภาพร (ปุ้ย) อาชีพ รับราชการ

 

______

 

“ตลอดการอบรมรู้สึกเหมือนได้ออกเดินทางกลับเข้าไปสำรวจภายในจิตใจของตัวเอง ซึ่งเราอาจไม่เคยใคร่ครวญ มองดู หรือทำความเข้าใจตัวเองอย่างลึกซึ้งเลย ทั้งๆที่มันคือ ชีวิตของเรา เเต่ละกิจกรรมที่ได้ทำ ทำให้เรารู้สึกได้เข้าใจตัวเองมากขึ้น ยอมรับทั้งเรื่องดีเเละไม่ดีในชีวิตเรา ได้กลับมาชื่นชมชีวิตตัวเอง ผู้คน สิ่งของ รอบตัว ซึ่งมันคือสิ่งสำคัญที่ทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีความสุขมากขึ้น

 

“ก่อนเรียนมักจะรู้สึกไม่มีพลังอยากจะลงมือทำอะไรมากนัก โดยเฉพาะสิ่งที่คิดว่าไม่มีประโยชน์ เเต่ตอนนี้รู้สึกว่ามีพลังใจมากขึ้นที่จะลงมือทำสิ่งต่างๆเเม้จะเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ จะบอกกับตัวเองว่าไม่ต้องคิดเยอะเเละไม่ต้องกลัวผิดพลาด ถ้าสิ่งที่เราจะทำเรามีความสุข เป็นสิ่งที่ดี เเละไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ลงมือทำไปเลย ซึ่งมันคือพลังของเด็กน้อยที่เราลืมเขาไป เขามีพลังในการลงมือทำ เเละรักที่จะเรียนรู้”

 

คุณสุพัตรา (เอ๋) อาชีพ ธุรกิจส่วนตัว

วิทยากร

 

 

ครูโอเล่ อนุรักษ์ เม่นหรุ่ม C.Ht

 

ผู้อำนวยการ สถาบันธรรมวรรณศิลป์ วิทยากร นักเขียน นักสะกดจิตบำบัด ผู้สอนการเขียนบำบัดในชื่อชุดหลักสูตร “เขียนเปลี่ยนชีวิต” (จำนวน 55 รุ่น) สอนการสะกดจิตบำบัดและการโปรแกรมจิตตัวเองในชุดหลักสูตร “ห้องเรียน พลังแห่งจิต” (30 รุ่น) นอกจากนี้ก็ยังเปิดอบรมในเนื้อหาต่างๆ อาทิ การรู้จักตนเอง การเจริญสติภาวนา การพัฒนาครู และภาวะผู้นำ แก่บุคคลหลากหลายอาชีพ ทั้งในการอบรมแบบเปิดและการอบรมในกลุ่มเฉพาะตามรับเชิญ

 

มีความถนัดด้านการให้คำปรึกษา การพัฒนากระบวนการคิด และการบำบัดเยียวยา และการสอนภาวนากับธรรมะประยุกต์ โดยได้รับ Certified Hypnotherapist เป็นผู้เขียนคอลัมน์ออนไลน์ “ไกด์โลกจิต” ผู้ร่วมศึกษาการเขียนบำบัดเพื่อส่งเสริมสุขภาวะผู้ต้องขังที่ติดเชื้อ HIV (เสนอผลการศึกษาสองครั้ง) และผู้ศึกษาค้นคว้าเรื่องการเขียนภาวนา (เปิดสอน 14 รุ่น และกำลังอยู่ระหว่างศึกษาวิจัยการเห็นคุณค่าในตัวเองผ่านการเขียนภาวนา)

เงื่อนไขในการเข้าร่วม


🙂 ผู้สมัครมีความตั้งใจร่วมกิจกรรมการอบรมอย่างเต็มที่ โดยได้อ่านรายละเอียดและพร้อมมีส่วนร่วมในขั้นตอนต่างๆ หากมีพฤติกรรมหรือการกระทำที่ส่งผลเสียต่อผู้สอนหรือกลุ่มผู้เรียน ทางโครงการหรือผู้สอนจะพิจารณาให้ออกจากการอบรมโดยไม่มีการชดเชย

🤝 ค่าใช้จ่ายนั้นให้เป็นไปตามกำลังทรัพย์และความเหมาะสมเพื่อสนับสนุนโครงการและผู้เรียนท่านอื่น ๆ หากไม่สะดวกชำระเต็มจำนวนที่ระบุ หรือมีความจำเป็นต้องจ่ายทีหลังให้แจ้งทางโครงการพร้อมเหตุผลที่ชัดเจนเมื่อสมัคร โดยจะไม่มีการคืนเงินหรือยกเลิกไม่ว่ากรณีใด

ติดต่อสอบถาม

Dhammaliterary@gmail.com

เพจเฟสบุ๊ค “สถาบันธรรมวรรณศิลป์”