ความประทับใจ การอบรม “เขียนเยียวยา” รุ่นที่ ๒๖ (๒)

 

 

” ได้ค้นพบว่า การเขียน สามารถ เยียวยา หรือ บำบัด ตนเองได้จริงๆ
การเขียน ไม่ใช่เขียน เพื่อระบายเพ้อเจ้อ แต่เราได้ข้อสรุปในตัวเอง จากการตอบคำถามต่างๆ นั่นคือ การเขียนในรอบสอง. เหมือนการกรองกะทิ
ความคิดของเรา ตกผลึกได้ เป็นเรื่องใหม่ สำหรับเราจริงๆ
.
” เราเห็นตัวเอง ผ่านตัวหนังสือของเรา และค้นพบว่า เราเคยละเลยหลายอย่างในตัวเรา ละเลยมือซ้าย มือที่เขียนไม่ถนัด. นึกถึงอวัยวะ ในส่วนอื่นๆ เหมือนว่าทุกส่วน ล้วนสำคัญทั้งนั้น. เท่ากับ เราเริ่มรักตัวเอง และอยากถนอมตัวเองมากขึ้น
.
” เมื่อรักตัวเองได้ เราก็มีความสุข สดชื่น ตามมานั่นเอง”
.
คุณสุนทรี (กบ) อาชีพ ค้าขาย
.
.
” ในการอบรมครั้งนี้ประทับใจตัวเองที่ตั้งใจเขียนมากขึ้นและประทับใจครูโอเล่ที่ให้คำแนะนำ หลังอบรมคิดว่าจะเขียนไปเรื่อยๆทั้งหัวข้อที่เคยเขียนแล้วและที่ยังไม่ได้เขียน รู้สึกขอบคุณครูค่ะ การอบรม เขียนเยียวยา ทำให้กลับมาดูแลร่างกายของตัวเองมากขึ้น ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายบ่อยขึ้น พักผ่อนเพียงพอ และการเขียนบันทึกหลายหัวข้อทำให้ได้เยียวยาหัวใจตัวเอง ด้วยการยอมรับและให้อภัยตัวเองได้มากขึ้น
.
” มีความคิดว่า เพียงเรานำเอาความตั้งใจที่เราเขียนในบันทึกว่าจะทำ นำมาลงมือทำจริงๆสัก 1% อย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง คงทำให้ชีวิตเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน สิ่งที่ต้องการทำต่อ คือการเขียนบันทึกให้เป็นกิจวัตรประจำวัน เพราะคิดว่าการเขียนเฉพาะช่วงอบรมแล้วเลิกลาไป คงไม่พอต่อการเยียวยาจิตใจ การเขียนในคอร์สอบรมถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี ทำให้มีการทบทวนตัวเองและมีแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีต่อำปด้วย ”
.
คุณธารเพียร (แจ๊ว) อาชีพ แม่บ้าน
.
.
” รู้สึกว่าได้กลับเข้ามาดูแลโลกภายในของตัวเองอีก รักเข้าใจตัวเองมากขึ้น ประทับใจครูโอเล่ที่ชี้แนะและให้กำลังใจกับงานเขียนที่ส่งไปให้ รวดเร็วด้วยครับ
.
” อย่ามองข้ามเรื่องที่เราคิดว่าเล็กๆน้อยๆ แต่มันยังคงมีรากเง้ามีเชื้อไฟซึ่งซ่อนตัวอยู่ และมันก็สามารถกัดกินกัดกร่อนความรู้สึกภายใน ความทั้งถ่วงความเจริญก้าวหน้าในชีวิตเรา การเขียนในการอบมเจาะลึกเข้าไปในความรู้สึกสามารถล้วงสิ่งต่างๆนั้นออกมาได้ ”
.
คุณวิโรจน์ (คิม) อาชีพ แพทย์
.
.
ความประทับใจจากการอบรม “เขียนเยียวยา” หลักสูตร #เขียนเปลี่ยนชีวิต กึ่งออนไลน์ รุ่นที่ ๒๖
ติดตามการอบรมและช้อคิดดีๆ ได้ที่ : www.dhammaliterary.org